บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2022

ย้อนนาทีศาลโลกสั่ง “ไทย-เขมร” ถอนทหาร พ้นเขาพระวิหาร!

รูปภาพ
  ย้อนนาทีศาลโลกสั่ง “ ไทย-เขมร ” ถอนทหาร พ้นเขาพระวิหาร!   จุดเริ่มต้นของการปะทุครั้งใหม่แถบชายแดนไทย-กัมพูชา ที่เคยมอดไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ เกิดจากความไม่พอใจของกัมพูชาเอง ทั้งๆ ที่ “ ศาลโลก ” เคยตัดสินให้ “ ปราสาทพระวิหาร ” ตกเป็นของกัมพูชาแล้วตั้งแต่ พ.ศ.2505 แต่ประเทศผู้ชนะไม่หยุดอยู่แค่นั้น เพราะถือว่ายังมีพื้นที่อีก 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบพระวิหาร ที่คำตัดสินไม่ครอบคลุม ส่งผลให้ทั้งไทยและกัมพูชาต้องส่งกำลังทหารเข้าปกป้องพื้นที่นี้ที่ทั้งสองฝ่ายถือว่าเป็นของตัวเอง บริเวณปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อ “ กำลังทหาร ” ไม่อาจชิงพื้นที่ส่วนนั้นมาได้ก็ต้องพึ่ง “ กระบวนการยุติธรรม ”   ดังนั้น กัมพูชาจึงยื่นคำขอต่อศาลฯ ให้ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกันได้ขอให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข ในระหว่างที่รอคำตัดสินคดีที่ถูกรื้อขึ้นใหม่   เห็นดังนั้นไทยไม่รอช้ารีบยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการพิจารณาข้อเรียกร้องของรัฐบาลกัมพูชา ด้วยมองว่าเป็นการกระทำที่เกินขอบเขตของศาลและไม่ยุติธรรม กร...

ปฐมบทแห่งบรรหาร

รูปภาพ
  #ปฐมบทแห่งบรรหาร "บาตรสังคโลก"ใบนี้เป็นสมบัติล้ำค่าของชาวสุพรรณบุรี เป็นบาตรที่เจ้าคุณพระเทพวุฒาจารย์ หรือ หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ ซื้อมาจากหญิงนิรนามที่มาขายให้ในราคา ๔๐ บาท ยุคอดีตมีงานมงคลใด จะมาขอยืมบาตรใบนี้ไปทำ"น้ำมนต์" แม้แต่งานแต่งงานระหว่างนายบรรหาร กับ คุณหญิงแจ่มใส ก็ใช้บาตรใบนี้ประกอบในพิธีสมรส จนเมื่อมีงานเปิดศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ตามคำบอกเล่าของนายพัฒน์ บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มายืม"บาตรสังคโลก"ของโบราณล้ำค่ามรดกของชาวสุพรรณบุรีไปประกอบพิธีกรรมดังกล่าว โดยบาตรใบนี้ไปถูกตาต้องใจ "ท่านผู้หญิง"ภริยาจอมพลท่านหนึ่ง และส่งคนนำ "ขันสาครทองเหลือง"จารึกนาม "จอมพลสฤษดิ์ ท่านผู้หญิงวิจิตรา"มาผาติกรรมให้หลวงพ่อเปลื้อง ซึ่งอำนาจมากมายขนาดนั้น ทำให้ "บาตรสังคโลก" ตกไปอยู่ในมือจอมพล บาตรสังคโลก ครั้นต่อมา มีการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ยุคนายสวัสดิ์ มีเพียร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (พ่อพลเอกธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา) โทรศัพท์และติดต่อไปหานายบรรหาร ศิลปอาชา นักธุรกิจหนุ่มเจ้า...

เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ สายใยรักสองราชสำนัก เชียงใหม่-เชียงตุง “รุ่นสุดท้าย”

รูปภาพ
    เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ สายใยรักสองราชสำนัก เชียงใหม่-เชียงตุง “ รุ่นสุดท้าย ”   “ เจ้านางคนสุดท้ายแห่งสองราชสำนักเชียงใหม่-เชียงตุง ” 1. ความสัมพันธ์ระหว่างเชียงตุงกับเชียงใหม่ ในสมัยราชวงศ์มังราย เชียงใหม่มีความสัมพันธ์กับเชียงตุงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย โดยตำนานเมืองเชียงตุงกล่าวว่า พญามังรายเป็นผู้สร้างเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1810 ตำนานระบุว่า เดิมเมืองเชียงตุง เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวลัวะมาก่อน ต่อมาพญามังรายได้ขยายอาณาเขต “ ครุบชิงเอาเมืองทัมมิละมาเป็นเมืองขึ้นแห่งตน ” ในระยะแรกได้ให้มังคุมและมังเคียน ซึ่งเป็นลัวะไปครองเมือง ต่อมา โปรดให้เจ้าน้ำท่วมซึ่งเป็นหลาน (พงศาวดารเชียงตุงว่าเป็นลูก) ครองเชียงตุง ในสมัยพญาไชยสงคราม (พ.ศ. 1854-1868) ได้ส่งราชบุตร คือเจ้าน้ำน่าน ไปครองเมืองเชียงตุง โทษฐาน “ บ่ซื่อต่อกูผู้เป็นพ่อ ” ครั้นสมัยพญาแสนพู (พ.ศ. 1868-1877) และสมัยพญาคำฟู (พ.ศ. 1877-1879) ได้ส่งขุนนางมาครองเชียงตุง ต่อมา ในสมัยพญาผายู ได้ส่งราชบุตร คือเจ้าเจ็ดพันตู เชี้อสายราชวงศ์มังรายไปปกครองเชียงตุง ในสมัยเจ้าเจ็ดพันตูครองเชียงตุง เชียงตุงเ...