บทความ

ปราสาทจามปา โปกลองการาย (Po Klong Garai Temple)

รูปภาพ
วิหารโปกลองการาย หรือวิหารโปกลองก่าหร่าย ( อังกฤษ: Po Klong Garai Temple) เป็นหมู่วิหารในศาสนาฮินดูยุคจามปา ตั้งอยู่ในราชรัฐปาณฑุรังคะ ( Panduranga) ของชาวจามปา ที่ซึ่งปัจจุบันคือเมืองฟานราง จังหวัดนิญถ่วน ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ชื่อฟานรางหรือปานรัง เป็นรูปแบบออสโตรนีเซียนดั้งเดิม ของภาษาสันสกฤต ปาณฑุรังกา ซึ่งปรากฏครั้งแรก บนจารึกของจาม ประมาณศตวรรษที่ 10 ในชื่อ ปารอุม และหลังจากนั้น ก็ได้รับการทับศัพท์เป็นภาษาเวียดนาม เป็นภาษาฟานราง ชื่อทับจาม แปลว่า "วัด/หอจาม" และตั้งชื่อตามวัดปอคลองการไรทางตอนเหนือของเมือง ในปี 813 การปกครองแบบปานดูรังกา ได้ก่อตั้งขึ้นในภูมิภาค วีรปุระ และกษัตริย์ จามปา ได้ให้เอกราชในท้องถิ่นแก่เมืองนี้ ตั้งแต่ปี 1471 ถึง 1693 ศูนย์กลาง (หรือชื่อ Panduranga) เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา อาณาเขตปานดูรังกา ถูกผนวกโดยชาวเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2375 ถือเป็นการล่มสลายของอาณาจักรจามปาสุดท้าย เมืองฟานรังก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2460 ในสมัยราชวงศ์เหงียน ตามพระราชโองการของจักรพรรดิคัยดิงห์ และยังคงเป็นเมืองหลวงของจังหวัดนิญถ่วน จนถึงปี พ.ศ. 2519 เมื่

ฟางเซี่ยวหรู ขุนนางผู้ฝากตำนาน ประหารชีวิต “10 ชั่วโคตร”

รูปภาพ
ในประวัติศาสตร์จีน เคยมีการลงโทษที่โหดร้ายทารุณ ด้วยการสังหาร 3 ชั่วโคตร 7 ชั่วโคตร และประหารชีวิต 9 ชั่วโคตร แต่การถูกฆ่าล้างตระกูลไป “ 10 ชั่วโคตร ” ดูเหมือนจะมี ฟางเซี่ยวหรู ปัญญาชนความรู้กว้างขวาง ผู้มีชีวิตอยู่ในราชวงศ์หมิง เพียงผู้เดียวเท่านั้น ฟางเซี่ยวหรู เป็นนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง ในช่วงต้นราชวงศ์หมิง เป็นหัวหน้าที่ปรึกษา ของจักรพรรดิหมิงฮุ่ยตี้ (ครองราชย์ ค.ศ. 1398-1399) รวมถึงเป็นอาจารย์ของเหล่าขุนนางมากมาย เขาขึ้นชื่อเรื่องความจงรักภักดี มีความตั้งใจแน่วแน่ ที่จะถวายงานรับใช้องค์ฮ่องเต้ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ปี 1399 องค์ชายจูตี้ เจ้าผูู้ครองแคว้นเอี๋ยน พระปิตุลาของจักรพรรดิฮุ่ยตี้ เปิดฉากยกทัพทำสงครามกับหลานตัวเอง เพื่อแย่งชิงบัลลังก์ มาเป็นของตนเอง องค์ชายจูตี้เป็นฝ่ายชนะ สามารถเข้ายึดครองกรุงนานกิง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิง และสถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ “ หมิงไท่จง ” ใช้ชื่อรัชศกว่า “ หย่งเล่อ ” ( แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ) เมื่อขึ้นครองราชย์ จักรพรรดิหย่งเล่อ ต้องการกำจัดขุนนาง ที่เป็นฝ่ายเดียวกับจักรพรรดิฮุ่ยตี้ ฟางเซี่ยวหรู จึงโดนจับกุมตัวไปด

วัดเชียงทอง (ວັດຊຽງທອງ) หลวงพระบาง อัญมณีของศิลปะล้านช้าง

รูปภาพ
วัดเชียงทอง (ວັດຊຽງທອງ) หลวงพระบาง อัญมณีของศิลปะล้านช้าง วัดเชียงทอง (ลาว: ວັດຊຽງທອງ วัดเซียงทอง) เป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ล้านช้าง ราชวงศ์หลวงพระบาง และราชวงศ์ลาว ตั้งอยู่ในนครหลวงพระบาง ประเทศลาว สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2103 โดยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างตอนเหนือ ที่งดงามมาก จนได้รับการขนานนามว่า เป็น "อัญมณีของศิลปะล้านช้าง" วัดเชียงทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว เป็นวัดเก่าแก่ที่สุด ของเมืองมรดกโลกนี้ ประวัติความเป็นมา ปีพ.ศ. 2042 ราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา เกิดว่างกษัตริย์ พระนางจิระประภามหาเทวี ผู้เป็นพระอัครมเหสี ในพระเมืองเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์หญิงเพียง 1 ปี บ้านเมืองก็เกิดระส่ำระส่าย ถูกอาณาจักรรอบข้างรุกราน และในยุคที่บุเรงนองเป็นผู้ชนะ10ทิศ พระนางจิระประภา จึงเชื่อมสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านช้างให้แน่นแฟ้น แต่พระองค์ครองราชย์ได้เพียง 1 ปี จึงสละราชบัลลังก์ และทูลเชิญพระไชยเชษฐา จากเมืองหลวงพระบาง แห่งอาณาจักรล้านช้าง ลงมาปก

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

รูปภาพ
ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง   อ.เถิน ตั้งอยู่ในบริเวณแอ่งเถิน-แม่พริก เป็นที่ราบแคบๆ แนวเหนือใต้ อยู่ระหว่างทิวเขาดอยขุนตานด้านทิศตะวันตก กับทิวเขาขุนแม่มอกด้านทิศตะวันออก มีทิวเขาผีปันน้ำกลางกั้นระหว่างกลาง ทำให้มีที่ราบ 2 ส่วน คือ ที่ราบด้านตะวันตก เป็นที่ตั้งของ ต.แม่ถอด ต.ล้อมแรด ต.เถินบุรี ต.นาโป่ง ต.แม่ปะ ต.แม่วะ ในเขต อ.เถิน ต.แม่พริก ต.แม่ปุ ต.ผาปัง ต.พระบาทวังตวง ในเขต อ.แม่พริก และที่ราบด้านตะวันออก เป็นที่ตั้งของ ต.แม่มอก และต.เวียงมอก ในเขต อ.เถิน เนื่องจากที่ราบด้านตะวันตก มีแม่น้ำวังและน้ำแม่พริกไหลผ่าน มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ทำให้เป็นที่ตั้ง ศูนย์กลางการปกครองของเมืองเถิน และมีการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหนาแน่น มากกว่าที่ราบขนาดเล็กด้านตะวันออก ซึ่งมีน้ำแม่มอกไหลผ่าน เนื่องจากที่ราบ ในเขตอุตรดิตถ์และสุโขทัย ติดต่อกับแอ่งเถิน-แม่พริก แอ่งเถิน-แม่พริก จึงกลายเป็นเทือกเขาสูง ทางตอนใต้สุดของล้านนา หรือภาคเหนือตอนบน ที่มาบรรจบกับที่ราบภาคกลางตอนบน หรือภาคเหนือตอนล่าง ในเขต จ.สุโขทัย ด้วยภูมิศาสตร์ดังกล่าว เมื่อพัฒนาขึ้นเป็นเมือง เมืองเถินจึงกลายเป็นเม