ปราสาทจามปา โปกลองการาย (Po Klong Garai Temple)


วิหารโปกลองการาย หรือวิหารโปกลองก่าหร่าย (อังกฤษ: Po Klong Garai Temple) เป็นหมู่วิหารในศาสนาฮินดูยุคจามปา ตั้งอยู่ในราชรัฐปาณฑุรังคะ (Panduranga) ของชาวจามปา ที่ซึ่งปัจจุบันคือเมืองฟานราง จังหวัดนิญถ่วน ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม

ชื่อฟานรางหรือปานรัง เป็นรูปแบบออสโตรนีเซียนดั้งเดิม ของภาษาสันสกฤต ปาณฑุรังกา ซึ่งปรากฏครั้งแรก บนจารึกของจาม ประมาณศตวรรษที่ 10 ในชื่อ ปารอุม และหลังจากนั้น ก็ได้รับการทับศัพท์เป็นภาษาเวียดนาม เป็นภาษาฟานราง ชื่อทับจาม แปลว่า "วัด/หอจาม" และตั้งชื่อตามวัดปอคลองการไรทางตอนเหนือของเมือง




ในปี 813 การปกครองแบบปานดูรังกา ได้ก่อตั้งขึ้นในภูมิภาค วีรปุระ และกษัตริย์ จามปา ได้ให้เอกราชในท้องถิ่นแก่เมืองนี้ ตั้งแต่ปี 1471 ถึง 1693 ศูนย์กลาง (หรือชื่อ Panduranga) เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรจามปา อาณาเขตปานดูรังกา ถูกผนวกโดยชาวเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2375 ถือเป็นการล่มสลายของอาณาจักรจามปาสุดท้าย

เมืองฟานรังก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2460 ในสมัยราชวงศ์เหงียน ตามพระราชโองการของจักรพรรดิคัยดิงห์ และยังคงเป็นเมืองหลวงของจังหวัดนิญถ่วน จนถึงปี พ.ศ. 2519 เมื่อจังหวัดรวมเข้ากับจังหวัดนิญถ่วน จนกลายเป็นจังหวัดถ่วนไห่

เมื่อญี่ปุ่นยึดครองประเทศ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาก่อตั้งสนามบินขึ้น และต่อมา ฝรั่งเศสก็ใช้สนามบินแห่งนี้ ในช่วงสาธารณรัฐเวียดนาม ฟานราง เป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศฟานราง ของกองทัพอากาศสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม




เมืองนี้ แบ่งออกเป็นฟานรังทางทิศตะวันออก ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนิงไฮ และทับจัมทางตะวันตก ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของอำเภออันเซิน ทั้งสองรวมกันอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อเป็นฟานซาง-ท้าปจ่าม ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดนิญถ่วน และได้รับสถานะเมืองในปี พ.ศ. 2550

วิหารโปกลองการาย วิหารนี้ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ ชัยสิงหาวรมันที่ 3 เพื่อบูชากษัตริย์ในตำนาน โปกลองก่าหร่าย ผู้ครองนครปาณฑุรงค์ ระหว่างปี 1151 ถึง 1205

ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์โปกลองการาย ในภาษาจาม แปลว่า "กษัตริย์มังกรแห่งชาวก่าหร่าย" เริ่มต้นชีวิต โดยการเป็นคนเลี้ยงวัวที่เป็นที่รัก ต่อมา ด้วยชะตาฟ้าลิขิต จึงได้กลายมาเป็นกษัตริย์แห่งจามปา ปกครองชาวจามปา ด้วยความเฉลียวฉลาด และเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เมื่อครั้นชาวเขมรเข้ารุกรานดินแดน เขาได้ท้าทายให้พวกเขมร ประลองสร้างหอคอย (หรือพระปรางค์) แข่งกัน เพื่อยุติการรุกรานนี้ โปกลองก่าหร่าย สามารถเอาชนะชาวเขมร และบังคับให้พวกเขมร ต้องถอยทัพกลับไป หลังสิ้นชีวิต โปกลองก่าหร่าย กลายมาเป็นเทพเจ้าและเทพารักษ์ แก่ผู้คนที่ยังอาศัยอยู่ ว่ากันว่า หอคอยที่สร้างแข่งกับเขมรในเวลานั้น คือหอคอยโปกลองการาย




ปราสาทโปกลองการาย เป็นกลุ่มอาคาร ที่ประกอบด้วยปราสาทประธาน อาคารทรงศาลา มณฑปและโคปุระ ที่ตั้งอยู่บนเนินเตี้ยๆ โดยปราสาทประธาน ที่สร้างในศิลปะจามสมัยหลัง ที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผนังแต่ละด้านประดับเสา 5 ต้น โดยซุ้มประตูด้านหน้า ที่ประดับด้วยรูปศิวนาฎราช ในขณะที่ด้านอื่นเป็นซุ้มหลอก ประดับรูปฤๅษี ชั้นซ้อน ประดับด้วยปราสาททรงพุ่มที่มุม ที่มีการประดับด้วยตัวเสียบที่ทำจากหินทราย แกะสลักอย่างสวยงาม โดยที่ด้าน จะเป็นซุ้มประดับรูปฤๅษี ภายในประดิษฐานมุขลึงค์ ที่ถูกซ่อมแปลงในสมัยหลังแล้ว

ด้านหน้าปราสาทประธาน มีวิหารที่เหลือเพียงฐาน ที่เชื่อมต่อไปยังโคปุระ ที่มีรูปทรงเช่นเดียวกับปราสาทประธาน แต่เจาะเป็นช่องประตูทางเข้า โดยเยื้องๆ กันมีอาคารทรงศาลา คืออาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีหลังคา ทรงคล้ายประทุนเรือ ซึ่งเชื่อว่า สร้างขึ้นเพื่อถวายเทพเจ้าแห่งไฟ

กษัตริย์ชัยสิงหวรมันที่สาม (เวียต: Chê Mân) ได้รับการขึ้นชื่อ เป็นผู้ก่อสร้างหอคอยโปกลองการายขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแด่กษัตริย์โปกลองก่าหร่าย โดยหอคอยนี้ สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 13 อย่างไรก็ตาม จารึกจำนวนมากจากสมัยก่อนหน้า เสนอว่า กษัตริย์ชัยสิงหวรมันที่สาม น่าจะเพียงแค่ทำนุบำรุงวิหาร และก่อสร้างเพิ่มเติม จากโครงสร้างที่มีอยู่แต่เดิม




จารึกหนึ่ง จากปี 1050 ที่วิหารโปกลองการาย ระบุการเฉลิมฉลองชัยชนะในการศึก ของเจ้าชายแห่งจามสองคน ซึ่งสันนิษฐานว่า หมายถึงราชวงศ์อินทรปุระ (Indrapura) จากทางเหนือ ซึ่งมีราชธานี ใกล้กับหมีเซิน เหนือพวกปาณฑุรงค์ แห่งจามปาใต้ เจ้าชายทั้งสอง ที่มีชัยในการศึกนี้ ได้สร้างลึงค์ และวิชยสตมภ์ (หรือเสาชัยชนะ) ขึ้น

วิหารโปกลองก่าหร่าย จัดเป็นศิลปกรรมแบบ ทับมาม ของศิลปกรรมจาม หมู่วิหาร ประกอบไปด้วยหอคอยอิฐ สามหอ ได้แก่ หอหลักสูงสามชั้น และหอซุ้มทางเข้าออก (โคปุระ) ที่มีขนาดเล็กลงมา และหอทรงยาว ที่มีหลังคาทรงอานม้า หมู่อาคารทั้งหมด ได้รับการอนุรักษ์อย่างดี เหนือประตูทางเข้าหลักของหอคอยหลัก มีประติมากรรมรูปพระศิวะ ในปางศิวนาฏราช ที่ได้รับการยกย่อง ให้เป็นชิ้นงานที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ของศิลปกรรมแบบ Thap Mam กระนั้น งานศิลปกรรมที่หลงเหลือภายในวิหารนั้น ไม่เป็นที่น่าประทับใจนัก มีลักษณะที่บ่งบอกถึง "ศิลปะในยุคเสื่อมถอย อันเนื่องมาจากงานช่าง ที่ดูแข็งทื่อและจืดชืด" หอคอยที่มีหลังคารูปอานม้านั้นเข้าใจว่า มีไว้บูชาเทพเจ้าแห่งเปลวเพลิง นามว่า ถังจู๋หยางปุย

รูปเคารพหลักของวิหาร คือมุขลึงค์ อายุศตวรรษที่ 16 หรือ 17 แม้ปกติลึงค์เช่นนี้ จะเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ แต่มุขลึงค์นี้ ชาวจามเชื่อว่า เป็นรูปแทนของกษัตริย์โปกลองก่าหร่ายมากกว่า จนถึงปัจจุบันยังคงมีการจัดเทศกาลเฉลิมฉลอง ของชาวจามขึ้น ที่นี่



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ