วัดกุฎีทอง พระนครศรีอยุธยา
วัดกุฎีทอง
วัดกุฎีทอง ตั้งอยู่เลขที่ ธ.๑๑ บ้านกุฎีทอง ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดธรรมิกราชด้านหน้าวัดหันสู่คูคลองเมือง
สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา
เพราะปรากฏนามในพงศาวดารเหนือว่า
สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา
เพราะปรากฏนามในพงศาวดารเหนือว่า
พระเจ้าจันทโชติทรงสร้างวัดกุฎีทอง
เมื่อ
พ.ศ.๑๔๐๑ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ
พ.ศ.๑๘๙๐
เมื่อ
พ.ศ.๑๔๐๑ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ
พ.ศ.๑๘๙๐
ปัจจุบันเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
มีเนื้อที่ ๒๐
ไร่ ๖๐ ตารางเมตร พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
ประกอบด้วยอาคารเสนาสนะสำคัญๆ
ได้แก่
มีเนื้อที่ ๒๐
ไร่ ๖๐ ตารางเมตร พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
ประกอบด้วยอาคารเสนาสนะสำคัญๆ
ได้แก่
อุโบสถก่ออิฐถือปูน
ขนาดกว้าง ๑๒
เมตร ยาว ๒๔ เมตร ศาลาการเปรียญสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
ขนาดกว้าง ๑๗
เมตร ยาว ๒๕ เมตร
ขนาดกว้าง ๑๒
เมตร ยาว ๒๔ เมตร ศาลาการเปรียญสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
ขนาดกว้าง ๑๗
เมตร ยาว ๒๕ เมตร
กุฏิสงฆ์สร้างด้วยไม้จำนวน
๕ หลัง และหอระฆัง มีถนนราดยาวซึ่งตัดผ่านกลางวัดเป็นเส้นแบ่งแยกเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส
๕ หลัง และหอระฆัง มีถนนราดยาวซึ่งตัดผ่านกลางวัดเป็นเส้นแบ่งแยกเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส
นามวัดกุฎีทอง ปรากฏอีกครั้งในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒ - ๒๑๓๓) ว่า
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒ - ๒๑๓๓) ว่า
พระยาละแวกแห่งกรุงกัมพูชา ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา และขณะที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดฯ
ให้เตรียมพลป้องกันพระนครอยู่นั้น
ให้เตรียมพลป้องกันพระนครอยู่นั้น
ทัพเขมรก็ยกมาถึงวัดโรงฆ้องและวัดกุฎีทอง
ตัวพระยาละแวกตั้งมั่นอยู่ที่วัดสามพิหาร โดยเที่ยวปล้นสดมภ์ชาวเมืองอยู่สามวันไม่สำเร็จ
ตัวพระยาละแวกตั้งมั่นอยู่ที่วัดสามพิหาร โดยเที่ยวปล้นสดมภ์ชาวเมืองอยู่สามวันไม่สำเร็จ
เพราะถูกทัพไทยรบไล่
พระยาละแวกจึงยกทัพกลับ
ครั้นนั้นได้พาเอาครอบครัวราษฎรไทยตำบลบ้านนา
เมืองนครนายก ชาวจันทบูร
ระยอง
พระยาละแวกจึงยกทัพกลับ
ครั้นนั้นได้พาเอาครอบครัวราษฎรไทยตำบลบ้านนา
เมืองนครนายก ชาวจันทบูร
ระยอง
ฉะเชิงเทรา
และนาเริ่ง
ไปกรุงกัมพูชาเป็นจำนวนมาก
และนาเริ่ง
ไปกรุงกัมพูชาเป็นจำนวนมาก
วัดนี้มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่น่าสนใจ ดังนี้
อุโบสถ ตั้งอยู่บนโคกหรือเนินดินสูงมาก เข้าใจว่าเป็นโคกโบราณที่ตั้งวัดเดิม
ตัวอุโบสถที่เห็นอยู่ทุกวันนี้คงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ตัวอุโบสถที่เห็นอยู่ทุกวันนี้คงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ได้รับการบูรณะแล้วแต่ยังคงรูปทรงแบบเดิมเอาไว้
คือ
มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่อมผืนผ้า
ยกฐานสูงประมาณ
๒ เมตรเศษ
คือ
มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่อมผืนผ้า
ยกฐานสูงประมาณ
๒ เมตรเศษ
ผนังตรงกลางหรือผนังหุ้มกลองด้านหน้าและด้านหลังก่อเป็นชาลายื่นออกมา
มีบันไดขนาบด้านละสองข้าง
ผนังด้านข้างมีซุ้มหน้าต่างข้างละเจ็ดช่อง
มีบันไดขนาบด้านละสองข้าง
ผนังด้านข้างมีซุ้มหน้าต่างข้างละเจ็ดช่อง
ฐานอุโบสถอ่อนโค้งท้องสำเภาประดับแข้งสิงห์
ลานประทักษิณกว้างใหญ่มีเสมาคู่ตั้งอยู่ทั้งแปดทิศ
ลานประทักษิณกว้างใหญ่มีเสมาคู่ตั้งอยู่ทั้งแปดทิศ
ภายในอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย
ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย
คือ
พระพักตร์รูปไข่
ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย
คือ
พระพักตร์รูปไข่
ขมวดพระเกศาเป็นหนามขนุนเล็ก
พระเกตุมาลาใหญ่
พระรัศมียาว ชายจีวรยาวถึงพระนาภี
ปลายตัดตรง
นิ้วพระหัตถ์ยาวเกือบเท่ากัน
เป็นต้น
พระเกตุมาลาใหญ่
พระรัศมียาว ชายจีวรยาวถึงพระนาภี
ปลายตัดตรง
นิ้วพระหัตถ์ยาวเกือบเท่ากัน
เป็นต้น
(พระประธานได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วเมื่อราวปี
พ.ศ. ๒๕๑๗)
พ.ศ. ๒๕๑๗)
เสมาคู่รอบอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูน ปัจจุบันทางวัดทาสีทับไว้ เป็นใบเสมาสลักจากหินชนวนขนาดใหญ่ สูง ๑๑๐ เซนติเมตร กว้าง
๗๙
เซนติเมตร หนา
๘ เซนติเมตร ตามลำดับ
สันสองข้างแหลมคม
ยอดแหลม
ตรงส่วนยอดและส่วนกลางที่เรียกว่าอกเสมา
เซนติเมตร หนา
๘ เซนติเมตร ตามลำดับ
สันสองข้างแหลมคม
ยอดแหลม
ตรงส่วนยอดและส่วนกลางที่เรียกว่าอกเสมา
มีลายคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสองรูป
ใบเสมาที่นี่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับใบเสมาของวัดที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น
ใบเสมาที่นี่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับใบเสมาของวัดที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น
ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่
๑๙ ถึงครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่
๒๐ เช่นที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดหน้าพระเมรุ วัดสามพิหาร
๑๙ ถึงครึ่งแรก ของพุทธศตวรรษที่
๒๐ เช่นที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดหน้าพระเมรุ วัดสามพิหาร
ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธา
และที่วัดป่าโมก
จังหวัดอ่างทอง
เป็นต้น
และที่วัดป่าโมก
จังหวัดอ่างทอง
เป็นต้น
เจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ จำนวน ๒ องค์
องค์ที่อยู่ใกล้อุโบสถมีสภาพดีกว่าองค์หลัง
ซึ่งเหลือแต่ฐานก่ออิฐสอปูน
องค์ที่อยู่ใกล้อุโบสถมีสภาพดีกว่าองค์หลัง
ซึ่งเหลือแต่ฐานก่ออิฐสอปูน
ประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมผืนผ้ารองรับมาลัยลูกแก้ว
ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลม ซึ่งอาจจะรับรูปแบบมาจากเจดีย์ทรงกลม สมัยสุโขทัย
ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลม ซึ่งอาจจะรับรูปแบบมาจากเจดีย์ทรงกลม สมัยสุโขทัย
บัลลังก์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เสาหานหักหายไปหมด ถัดไปคือปล้องไฉน เจดีย์ทั้งสององค์นี้ มีรูปแบบคล้ายคลึงกับเจดีย์
เสาหานหักหายไปหมด ถัดไปคือปล้องไฉน เจดีย์ทั้งสององค์นี้ มีรูปแบบคล้ายคลึงกับเจดีย์
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคล และเจดีย์ที่วัดสามพิหาร
ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา
ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา
จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒
เจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ด้านหน้าอุโบสถใกล้ประตูกำแพงแก้ว
ก่อด้วยอิฐสอปูน ประกอบด้วยฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น
ก่อด้วยอิฐสอปูน ประกอบด้วยฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น
ถัดขึ้นไปเป็นบัวปากระฆัง
องค์ระฆังทรงกลม
ส่วนยอดหรือเครื่องบนหักหายไปหมด
องค์ระฆังทรงกลม
ส่วนยอดหรือเครื่องบนหักหายไปหมด
จากลักษณะดังกล่าวทำให้สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นภายหลังเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ด้านหลังอุโบสถเล็กน้อย
เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก
ตั้งอยู่ใกล้เจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก
ก่อด้วยอิฐสอปูนเช่นกัน
ประกอบด้วยฐานบัว
ตั้งอยู่ใกล้เจดีย์ทรงกลมขนาดเล็ก
ก่อด้วยอิฐสอปูนเช่นกัน
ประกอบด้วยฐานบัว
ฐานสิงห์ย่อมุมไม้สิบสองซ้อนลดขนาดกันขึ้นไปสามชั้น
บัวกลุ่ม
บัวปากระฆัง
องค์ระฆังทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดของเดิมคงหักหายไป
บัวกลุ่ม
บัวปากระฆัง
องค์ระฆังทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดของเดิมคงหักหายไป
ที่เห็นอยู่คงสร้างเพิ่มเติมภายหลังจึงดูไม่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับองค์เจดีย์
อย่างไรก็ตาม
ลักษณะของการทำบัวกลุ่มย่อมุมรองรับองค์ระฆังนั้น
อย่างไรก็ตาม
ลักษณะของการทำบัวกลุ่มย่อมุมรองรับองค์ระฆังนั้น
จัดเป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมทำกันเฉพาะในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เรื่อยมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เรื่อยมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ดังเช่นปรากฏหลักฐานอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม
จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี
ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรีที่เป็นภาพพระเจดีย์จุฬามณี
และพระเจดีย์ทองคู่ด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นต้น
และพระเจดีย์ทองคู่ด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เป็นต้น
ฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นภายหลังเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ด้านหลังอุโบสถ
เจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นภายหลังเจดีย์ทรงกลมองค์ใหญ่ด้านหลังอุโบสถ
ประตูซุ้ม เหลือเพียงประตูทางด้านหน้า เป็นประตูซุ้มมีแนวกำแพงก่ออิฐสอปูน
สันกำแพงคล้ายหลังคาโค้งแหลม
สันกำแพงคล้ายหลังคาโค้งแหลม
อันเป็นแบบศิลปะที่รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกในสมัยอยุธยาตอนปลาย
มีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วของวัดพุทไธสวรรย์
ตำบลสำเภาล่ม
มีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วของวัดพุทไธสวรรย์
ตำบลสำเภาล่ม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งอาจจะมีการบูรณะซ่อมแซมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วยก็ได้
ซึ่งอาจจะมีการบูรณะซ่อมแซมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วยก็ได้
จากประวัติวัดและหลักฐานทางศิลปะโบราณคดีที่กล่าวมานี้
แสดงว่าวัดกุฎีทองเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา
แสดงว่าวัดกุฎีทองเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา
อาจมีมาก่อนหรือสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
และคงได้รับการพัฒนาบูรณะเรื่อยมา
และคงได้รับการพัฒนาบูรณะเรื่อยมา
โดยเฉพาะช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดกุฎีทองเป็นโบราณสถานของชาติ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกาา
เล่มที่ ๑๑๒
ตอนที่ ๕๙ ง วันที่ ๒๕ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๕๓๘
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกาา
เล่มที่ ๑๑๒
ตอนที่ ๕๙ ง วันที่ ๒๕ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๕๓๘
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น