ปราสาทวัดพู มรดกโลกแห่งแขวงจำปาสัก
ปราสาทวัดพู มรดกโลกแห่งแขวงจำปาสัก
ปราสาทวัดพู (VAT PHOU) เป็นโบราณสถานในอารยธรรมเขมรที่ตั้งอยู่ในดินแดนประเทศลาวตอนใต้
ส่วนที่เป็นแขวงจำปาสักในปัจจุบัน
ถือได้ว่าเป็นปราสาทเขมรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศลาว
โบราณสถานแห่งนี้มีประวัติย้อนไปได้ไกลถึงยุคแรกเริ่มก่อตั้งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ
และคงความสำคัญสืบมาในคตินิยมของชาวลาวอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ปราสาทวัดพูจึงได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ให้เป็น “มรดกโลก” ในปี พ.ศ.
2545
ส่วนที่เป็นแขวงจำปาสักในปัจจุบัน
ถือได้ว่าเป็นปราสาทเขมรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศลาว
โบราณสถานแห่งนี้มีประวัติย้อนไปได้ไกลถึงยุคแรกเริ่มก่อตั้งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ
และคงความสำคัญสืบมาในคตินิยมของชาวลาวอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ปราสาทวัดพูจึงได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนจาก UNESCO ให้เป็น “มรดกโลก” ในปี พ.ศ.
2545
ทำเลที่ตั้ง
ปราสาทวัดพูตั้งอยู่บริเวณเชิงภูเขาลูกใหญ่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง
ทางตอนใต้ของเมืองจำปาสัก ห่างจากเมืองปากเซไปประมาณ 30 กิโลเมตร
ภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทวัดพูแห่งนี้ชาวลาวนิยมเรียกชื่อว่า “ภูเกล้า” สื่อความหมายถึงความเคารพประดุจยกไว้เหนือเศียรเกล้า
ตัวปราสาทวัดพูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
และวางแผนผังเป็นแนวยาวตามลักษณะของปราสาทเขมรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา
อาจเทียบเคียงได้กับปราสาทเขาพระวิหาร ที่มีแผนผังคล้ายคลึงกัน
ทางตอนใต้ของเมืองจำปาสัก ห่างจากเมืองปากเซไปประมาณ 30 กิโลเมตร
ภูเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทวัดพูแห่งนี้ชาวลาวนิยมเรียกชื่อว่า “ภูเกล้า” สื่อความหมายถึงความเคารพประดุจยกไว้เหนือเศียรเกล้า
ตัวปราสาทวัดพูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
และวางแผนผังเป็นแนวยาวตามลักษณะของปราสาทเขมรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขา
อาจเทียบเคียงได้กับปราสาทเขาพระวิหาร ที่มีแผนผังคล้ายคลึงกัน
ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป
บริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของปราสาทวัดพูเคยมีเมืองโบราณแห่งหนึ่งชื่อว่า
“เสดถะปุระ” (เศรษฐปุระ)
ซึ่งเป็นเมืองโบราณในอารยธรรมกัมพูชายุคก่อนเมืองพระนคร ราวๆช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่
12
(ยุคสมัยเก่าแก่ก่อนที่กัมพูชาจะลงไปตั้งราชธานีที่บริเวณพื้นที่ที่เป็นปราสาทนครวัด)
มีการค้นพบจารึกของกษัตริย์พระนามว่า “เทวนิกะ” ในพื้นที่แถบนี้ซึ่งพระองค์อาจจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างปราสาทวัดพูก็เป็นได้
(แต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นใดเชื่อมโยงกษัตริย์องค์นี้กับปราสาทวัดพู)
“เสดถะปุระ” (เศรษฐปุระ)
ซึ่งเป็นเมืองโบราณในอารยธรรมกัมพูชายุคก่อนเมืองพระนคร ราวๆช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่
12
(ยุคสมัยเก่าแก่ก่อนที่กัมพูชาจะลงไปตั้งราชธานีที่บริเวณพื้นที่ที่เป็นปราสาทนครวัด)
มีการค้นพบจารึกของกษัตริย์พระนามว่า “เทวนิกะ” ในพื้นที่แถบนี้ซึ่งพระองค์อาจจะเป็นผู้ริเริ่มสร้างปราสาทวัดพูก็เป็นได้
(แต่ยังไม่มีหลักฐานอื่นใดเชื่อมโยงกษัตริย์องค์นี้กับปราสาทวัดพู)
หลักฐานที่สำคัญที่น่าจะกล่าวถึงบริเวณปราสาทวัดพูในสมัยโบราณ
คือจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์สุย กล่าวว่า “อาณาจักรโบราณนามว่า เจนละ ตั้งอยู่แถบภูเขาสูง
ที่เมืองหลางของเจนละจะมีภูเขาศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า ลิงเจียโปโป เป็นที่สถิตของเทพเจ้านามว่า
โพโตลิ สถานที่นี้มีทหาร 1,000 นายดูแลรักษา
ซึ่งทุกปีกษัตริย์แห่งเจนละจะเสด็จมาที่ภูเขานี้
เพื่อบวงสรวงสังเวยเทพโพโตลิด้วยการบูชายัญมนุษย์”
คือจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์สุย กล่าวว่า “อาณาจักรโบราณนามว่า เจนละ ตั้งอยู่แถบภูเขาสูง
ที่เมืองหลางของเจนละจะมีภูเขาศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า ลิงเจียโปโป เป็นที่สถิตของเทพเจ้านามว่า
โพโตลิ สถานที่นี้มีทหาร 1,000 นายดูแลรักษา
ซึ่งทุกปีกษัตริย์แห่งเจนละจะเสด็จมาที่ภูเขานี้
เพื่อบวงสรวงสังเวยเทพโพโตลิด้วยการบูชายัญมนุษย์”
นักวิชาการชาวฝรั่งเศสตีความจดหมายเหตุจีนว่า
เจนละเป็นอาณาจักรสำคัญในประวัติศาสตร์กัมพูชายุคก่อนเมืองพระนคร
โดยมีพื้นที่ครอบคลุมแถบตอนเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาวรวมถึงภาคอีสานของไทย
ศูนย์กลางราชธานีของอาณาจักรเจนละน่าจะอยู่แถบเมืองโบราณเศรษฐปุระในแขวงจำปาสัก
ประเทศลาว ด้วยเหตุที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของภูเกล้า ซึ่งน่าจะตรงกับภูเขา “ลิงเจียโปโป” ที่ชาวจีนกล่าวถึง
นักวิชาการชาวฝรั่งเศสตีความต่อว่า คำว่า “ลิงเจียโปโป”
น่าจะเป็นการออกเสียงของชาวจีนที่พยายามกล่าวคำว่า
“ลิงคปารวตา” (ลิงคบรรพต)
ซึ่งเป็นนามภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าคือภูเกล้าในปัจจุบัน และชื่อเทพเจ้า “โพโตลิ” ก็น่าจะตรงกับภาษาสันสกฤตว่า
“ภัทเรศวร” ซึ่งเป็นชื่อของศิวลึงค์ที่ประดิษฐานที่ปราสาทวัดพูแห่งนี้อีกด้วย
ดังนั้นปราสาทวัดพูจึงน่าจะสร้างขึ้นและได้รับการเคารพบูชาเป็นพิเศษมาตั้งแต่ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่
12 แล้ว
เจนละเป็นอาณาจักรสำคัญในประวัติศาสตร์กัมพูชายุคก่อนเมืองพระนคร
โดยมีพื้นที่ครอบคลุมแถบตอนเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาวรวมถึงภาคอีสานของไทย
ศูนย์กลางราชธานีของอาณาจักรเจนละน่าจะอยู่แถบเมืองโบราณเศรษฐปุระในแขวงจำปาสัก
ประเทศลาว ด้วยเหตุที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของภูเกล้า ซึ่งน่าจะตรงกับภูเขา “ลิงเจียโปโป” ที่ชาวจีนกล่าวถึง
นักวิชาการชาวฝรั่งเศสตีความต่อว่า คำว่า “ลิงเจียโปโป”
น่าจะเป็นการออกเสียงของชาวจีนที่พยายามกล่าวคำว่า
“ลิงคปารวตา” (ลิงคบรรพต)
ซึ่งเป็นนามภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อว่าคือภูเกล้าในปัจจุบัน และชื่อเทพเจ้า “โพโตลิ” ก็น่าจะตรงกับภาษาสันสกฤตว่า
“ภัทเรศวร” ซึ่งเป็นชื่อของศิวลึงค์ที่ประดิษฐานที่ปราสาทวัดพูแห่งนี้อีกด้วย
ดังนั้นปราสาทวัดพูจึงน่าจะสร้างขึ้นและได้รับการเคารพบูชาเป็นพิเศษมาตั้งแต่ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่
12 แล้ว
ภายหลังจากพระเจ้ามเหนทรวรมัน (เจ้าชายจิตรเสน)
ทรงย้ายราชธานีจากบริเวณแถบนี้ลงไปยังเขตจังหวัดกำปงธมในประเทศกัมพูชา
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่กัมพูชาตั้งเมืองพระนคร
(ยโศธรปุระ) เป็นราชธานีถาวร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 ปราสาทวัดพูก็ไม่ได้ถูกทอดทิ้งหรือลดความสำคัญลงเลย
กษัตริย์แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณในแต่ละช่วงสมัยยังคงเคารพนับถือศาสนสถานแห่งนี้
และทำนุบำรุงไว้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากรูปแบบศิลปกรรมของตัวปราสาทวัดพู
ที่เป็นปราสาทหินศิลปะเขมรแบบที่คาบเกี่ยวระหว่างแบบบาปวน (Baphoun) และแบบนครวัด
(Angkor Wat)
ทรงย้ายราชธานีจากบริเวณแถบนี้ลงไปยังเขตจังหวัดกำปงธมในประเทศกัมพูชา
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่กัมพูชาตั้งเมืองพระนคร
(ยโศธรปุระ) เป็นราชธานีถาวร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 ปราสาทวัดพูก็ไม่ได้ถูกทอดทิ้งหรือลดความสำคัญลงเลย
กษัตริย์แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณในแต่ละช่วงสมัยยังคงเคารพนับถือศาสนสถานแห่งนี้
และทำนุบำรุงไว้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากรูปแบบศิลปกรรมของตัวปราสาทวัดพู
ที่เป็นปราสาทหินศิลปะเขมรแบบที่คาบเกี่ยวระหว่างแบบบาปวน (Baphoun) และแบบนครวัด
(Angkor Wat)
(ศิลปะเขมรที่สร้างสรรค์ปราสาทหินต่างๆเหล่านี้
นักวิชาการสามารถจัดจำแนกเป็น 14 รูปแบบ
แต่ละแบบแต่ละสมัยจะมีชื่อเรียกเฉพาะตามชื่อปราสาทที่เด่นในกลุ่มนั้น อย่างเช่น
ศิลปะเขมรแบบนครวัด คือรูปแบบศิลปะที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับการสร้างปราสาทนครวัด
ราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้น)
นักวิชาการสามารถจัดจำแนกเป็น 14 รูปแบบ
แต่ละแบบแต่ละสมัยจะมีชื่อเรียกเฉพาะตามชื่อปราสาทที่เด่นในกลุ่มนั้น อย่างเช่น
ศิลปะเขมรแบบนครวัด คือรูปแบบศิลปะที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับการสร้างปราสาทนครวัด
ราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้น)
ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรกัมพูชาโบราณ
พื้นที่แถบนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลาวล้านช้าง
โดยเมืองจำปาสักได้เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของล้านช้าง เมื่อเจ้าราชครูโพนสะเม็ก
พระภิกษุระดับมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ เดินทางมาจากนครเวียงจันทน์มาตั้งเมืองจำปาสักเป็นเมืองหลวงฝ่ายใต้
ราวๆพุทธศตวรรษที่ 23 (ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย)
ปราสาทวัดพูภายใต้วัฒนธรรมลาวก็ถูกปรับเปลี่ยนจากการเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู
มาเป็นวัดในพุทธศาสนา และชื่อเรียกว่า “วัดพู” ก็คงเกิดขึ้นจากชาวลาวแถบนี้ที่เคารพปราสาทแห่งนี้ในฐานะพระอารามในพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
พื้นที่แถบนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลาวล้านช้าง
โดยเมืองจำปาสักได้เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของล้านช้าง เมื่อเจ้าราชครูโพนสะเม็ก
พระภิกษุระดับมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ เดินทางมาจากนครเวียงจันทน์มาตั้งเมืองจำปาสักเป็นเมืองหลวงฝ่ายใต้
ราวๆพุทธศตวรรษที่ 23 (ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย)
ปราสาทวัดพูภายใต้วัฒนธรรมลาวก็ถูกปรับเปลี่ยนจากการเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู
มาเป็นวัดในพุทธศาสนา และชื่อเรียกว่า “วัดพู” ก็คงเกิดขึ้นจากชาวลาวแถบนี้ที่เคารพปราสาทแห่งนี้ในฐานะพระอารามในพุทธศาสนาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
องค์ประกอบสำคัญของปราสาทวัดพู
ปราสาทวัดพู มีแผนผังตามแนวแกนตะวันออกตะวันตก
จากพื้นราบตัดขึ้นไปตามเชิงภูจนถึงลานตระพักชั้นบนสุดมีความสูง 607
เมตรจากรระดับน้ำทะเล หากเดินจากจุดเริ่มต้นด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออก
สิ่งแรกที่พบ คือ “บาราย” สระน้ำขนาดใหญ่มีขอบสระก่อด้วยหินทราย กว้าง 200 เมตร ยาว 600 เมตร
เชื่อเว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้น้ำสำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ชาวลาวนิยมเรียกว่า “หนองสระ” สมัยก่อนเคยมีศาลารับเสด็จเจ้ามหาชีวิต
(กษัตริย์ลาว) บนฐานหินเดิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2500 ปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปแล้ว
จากพื้นราบตัดขึ้นไปตามเชิงภูจนถึงลานตระพักชั้นบนสุดมีความสูง 607
เมตรจากรระดับน้ำทะเล หากเดินจากจุดเริ่มต้นด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออก
สิ่งแรกที่พบ คือ “บาราย” สระน้ำขนาดใหญ่มีขอบสระก่อด้วยหินทราย กว้าง 200 เมตร ยาว 600 เมตร
เชื่อเว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้น้ำสำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ชาวลาวนิยมเรียกว่า “หนองสระ” สมัยก่อนเคยมีศาลารับเสด็จเจ้ามหาชีวิต
(กษัตริย์ลาว) บนฐานหินเดิม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2500 ปัจจุบันถูกรื้อถอนออกไปแล้ว
จากนั้น จะเป็นทางเดินขึ้นยาว ระยะทาง 280 เมตร ปูพื้นด้วยหินทราย
ขอบทางเดินตั้งเสาหินรูปดอกบัวทั้งสองข้าง เรียกว่า “เสานางเรียง” ซึ่งเป็นเสาหินที่ใช้ปักกำหนดขอบเขตทางเดินว่า
พื้นที่ระหว่างช่วงเสานี้สงวนไว้เฉพาะขบวนเสด็จของกษัตริยืและชนชั้นสูงเท่านั้น
(ลักษณะคล้ายทางเดินที่ปราสาทพนมรุ้ง) ทางเดินดังกล่าวมีไปจนถึงลานชั้นที่ 1
คือที่ตั้งของอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 หลัง ขนาบข้างทางเดินซ้ายขวา
อาคารดังกล่าวก่อด้วยหินทราย สลับกับอิฐและศิลแลงบางส่วน
แต่มีการแกะสลักลวดลายสวยงามที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของตัวอาคารด้วย
สันนิษฐานว่าอาคาร 2 หลังนี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
หรืออาจเป็นพลับพลาของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ยามที่เสด้จมาบูชาเทวสถานแห่งนี้
ชาวลาวในปัจจุบันเชื่อตามคติท้องถิ่นว่าที่แบ่งเป็นอาคาร 2
หลังเพราะเป็นที่พำนักของฝ่ายผู้ชายและฝ่ายผู้หญิง จึงเรียกชื่อว่า “โรงท้าว” และ “โรงนาง” จุดที่น่าสนใจของโรงท้าวโรงนางก็คือ
ภาพสลักลวดลายหน้าบันและทับหลังที่สวยงาม โดยเฉพาะหน้าบันรูป “อุมามเหศวร”
ขอบทางเดินตั้งเสาหินรูปดอกบัวทั้งสองข้าง เรียกว่า “เสานางเรียง” ซึ่งเป็นเสาหินที่ใช้ปักกำหนดขอบเขตทางเดินว่า
พื้นที่ระหว่างช่วงเสานี้สงวนไว้เฉพาะขบวนเสด็จของกษัตริยืและชนชั้นสูงเท่านั้น
(ลักษณะคล้ายทางเดินที่ปราสาทพนมรุ้ง) ทางเดินดังกล่าวมีไปจนถึงลานชั้นที่ 1
คือที่ตั้งของอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2 หลัง ขนาบข้างทางเดินซ้ายขวา
อาคารดังกล่าวก่อด้วยหินทราย สลับกับอิฐและศิลแลงบางส่วน
แต่มีการแกะสลักลวดลายสวยงามที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของตัวอาคารด้วย
สันนิษฐานว่าอาคาร 2 หลังนี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
หรืออาจเป็นพลับพลาของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ยามที่เสด้จมาบูชาเทวสถานแห่งนี้
ชาวลาวในปัจจุบันเชื่อตามคติท้องถิ่นว่าที่แบ่งเป็นอาคาร 2
หลังเพราะเป็นที่พำนักของฝ่ายผู้ชายและฝ่ายผู้หญิง จึงเรียกชื่อว่า “โรงท้าว” และ “โรงนาง” จุดที่น่าสนใจของโรงท้าวโรงนางก็คือ
ภาพสลักลวดลายหน้าบันและทับหลังที่สวยงาม โดยเฉพาะหน้าบันรูป “อุมามเหศวร”
ถัดจากโรงท้าวโรงนาง
เป็นทางเดินปูด้วยแผ่นหินทรายยาวตรงไปสู่บันไดขั้นแรก
ที่จะขึ้นไปยังตัวปราสาทประธาน ส่วนด้านใต้ของทางเดินนี้มีปราสาทอีกหลังหนึ่งที่ชาวลาวเรียกว่า
“โรงงัวอุสุพะลาด” (อุศุภราช)
ซึ่งเป็นชื่อพระโคที่เป็นพาหนะของพระศิวะ (จริงๆแล้วอาคารนี้อาจจะเป็น “บรรณาลัย” ที่เก็บคัมภีร์ต่างๆสำหรับเทวสถาน)
ถ้าสังเกตให้ดีจะมีเส้นทางโบราณออกจากบริเวณใกล้ๆอาคารนี้ตรงไปทางทิศใต้
ผ่านบ้านธาตุ มุ่งตรงไปยังเมืองพระนคร (Angkor)
ราชธานีโบราณของกัมพูชาอันเป็นที่ตั้งของนครวัดในปัจจุบันอีกด้วย
เป็นทางเดินปูด้วยแผ่นหินทรายยาวตรงไปสู่บันไดขั้นแรก
ที่จะขึ้นไปยังตัวปราสาทประธาน ส่วนด้านใต้ของทางเดินนี้มีปราสาทอีกหลังหนึ่งที่ชาวลาวเรียกว่า
“โรงงัวอุสุพะลาด” (อุศุภราช)
ซึ่งเป็นชื่อพระโคที่เป็นพาหนะของพระศิวะ (จริงๆแล้วอาคารนี้อาจจะเป็น “บรรณาลัย” ที่เก็บคัมภีร์ต่างๆสำหรับเทวสถาน)
ถ้าสังเกตให้ดีจะมีเส้นทางโบราณออกจากบริเวณใกล้ๆอาคารนี้ตรงไปทางทิศใต้
ผ่านบ้านธาตุ มุ่งตรงไปยังเมืองพระนคร (Angkor)
ราชธานีโบราณของกัมพูชาอันเป็นที่ตั้งของนครวัดในปัจจุบันอีกด้วย
จากนั้นเป็นบันไดหินขึ้นสู่ปราสาท บางช่วงมีกองอิฐของปราสาทเก่า
และชั้นกำแพงหินป้องกันดินทรุดเป็นระยะๆต่อไป
จุดเด่นของบันไดทางขึ้นช่วงแรกนี้คือต้นลั่นทมขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสวยงาม
ชาวลาวถือว่าลั่นทมเป็นดอกไม้ประจำชาติ นิยมเรียกว่า “จำปา” เหนือบันไดนี้จะมีร่องรอยของ
“โคปุระ” หรือซุ้มประตูซึ่งพังไปแล้วเช่นกัน
มีส่วนเหลือให้เห็นคือ รูปสลักทวารบาล หรือผู้รักษาประตูด้านทิศเหนือ
ในสภาพมือขวากุมไม้เท้า มือซ้ายแนบหน้าอก เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทเบื้องบน
แต่ชาวลาวกลับตีความว่าเป็นรูปสลักของ “พระยากำมะทา”
ผู้ควบคุมการก่อสร้างปราสาทวัดพู
กำลังทุบอกตนเองด้วยเสียใจที่การก่อสร้างปราสาทวัดพู
เสร็จทีหลังการก่อสร้างพระธาตุพนม
และชั้นกำแพงหินป้องกันดินทรุดเป็นระยะๆต่อไป
จุดเด่นของบันไดทางขึ้นช่วงแรกนี้คือต้นลั่นทมขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสวยงาม
ชาวลาวถือว่าลั่นทมเป็นดอกไม้ประจำชาติ นิยมเรียกว่า “จำปา” เหนือบันไดนี้จะมีร่องรอยของ
“โคปุระ” หรือซุ้มประตูซึ่งพังไปแล้วเช่นกัน
มีส่วนเหลือให้เห็นคือ รูปสลักทวารบาล หรือผู้รักษาประตูด้านทิศเหนือ
ในสภาพมือขวากุมไม้เท้า มือซ้ายแนบหน้าอก เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทเบื้องบน
แต่ชาวลาวกลับตีความว่าเป็นรูปสลักของ “พระยากำมะทา”
ผู้ควบคุมการก่อสร้างปราสาทวัดพู
กำลังทุบอกตนเองด้วยเสียใจที่การก่อสร้างปราสาทวัดพู
เสร็จทีหลังการก่อสร้างพระธาตุพนม
ถัดจากบันไดนี้ขึ้นไป เป็นทางเดินยาวที่ปูด้วยแผ่นหินทราย
ที่มีความชันตามแนวลาดของภูเขา นำไปสู่
บันไดชั้นถัดไปได้เชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงตระพักบนชั้นสุด
ที่หน้าบันไดนี้จะมีร่องรอยของ “สะพานนาคราช”
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สะพานสายรุ้งหรือทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ตามคติเขมร
เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจนถึงชั้นบนสุดก็จะเป็นที่ตั้งของปราสาทหลังประธาน
หัวใจสำคัญของเทวสถานปราสาทวัดพูแห่งนี้
ที่มีความชันตามแนวลาดของภูเขา นำไปสู่
บันไดชั้นถัดไปได้เชื่อมต่อขึ้นสู่ระเบียงตระพักบนชั้นสุด
ที่หน้าบันไดนี้จะมีร่องรอยของ “สะพานนาคราช”
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สะพานสายรุ้งหรือทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ตามคติเขมร
เมื่อเดินขึ้นบันไดไปจนถึงชั้นบนสุดก็จะเป็นที่ตั้งของปราสาทหลังประธาน
หัวใจสำคัญของเทวสถานปราสาทวัดพูแห่งนี้
ตัวปราสาทประธานของปราสาทวัดพู แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน
คืออาคารหินทรายส่วนหน้าเรียกว่า “มณฑป” สร้างขึ้นราวๆช่วงพุทธศตวรรษที่ 17
มณฑปนี้จะมีจุดเด่นตรงที่ มีการสลักภาพเล่าเรื่องและภาพบุคคลต่างๆตามความนิยมในศิลปะเขมรมากมายทั้งที่ตัวผนังปราสาท
หน้าบันและทับหลัง ตัวอย่างภาพสลักที่อยู่ที่มณฑปนี้ ได้แก่
คืออาคารหินทรายส่วนหน้าเรียกว่า “มณฑป” สร้างขึ้นราวๆช่วงพุทธศตวรรษที่ 17
มณฑปนี้จะมีจุดเด่นตรงที่ มีการสลักภาพเล่าเรื่องและภาพบุคคลต่างๆตามความนิยมในศิลปะเขมรมากมายทั้งที่ตัวผนังปราสาท
หน้าบันและทับหลัง ตัวอย่างภาพสลักที่อยู่ที่มณฑปนี้ ได้แก่
ทวารบาล และนางอัปสรา
พระศิวะท่ามกลางฤๅษี
มหากาพย์รามายณะ
พระกฤษณะปราบนาคกาลียะ
พระกฤษณะปราบพระยากงส์
การกวนน้ำอมฤต ณ เกษียรสมุทร
พระนารายณ์ทรงสุบรรณ
พระนารายณ์บรรทมสินธุ์
พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ด้านในสุดของมณฑปเป็นห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชาวลาวสร้างขึ้นในสมัยหลัง
ช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนตัวปราสาทวัดพูจากเทวสถานของศาสนาฮินดูของเขมร
มาเป็นวัดพุทธศาสนาแบบลาว
ช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนตัวปราสาทวัดพูจากเทวสถานของศาสนาฮินดูของเขมร
มาเป็นวัดพุทธศาสนาแบบลาว
ด้านหลังมณฑปเป็นอาคารก่ออิฐแบบโบราณ ซึ่งก็คือ “ปราสาทประธาน” นั่นเอง
ใรอดีตปราสาทอิฐหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ “ภัทเรศวร” ที่กษัตริยืกัมพูชาเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละ
แต่ปัจจุบันไม่มีศิวลึงค์อยู่ในห้องนี้แล้ว
ใรอดีตปราสาทอิฐหลังนี้เคยเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์ “ภัทเรศวร” ที่กษัตริยืกัมพูชาเคารพนับถือมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละ
แต่ปัจจุบันไม่มีศิวลึงค์อยู่ในห้องนี้แล้ว
หน้าผาเพิงหินด้านหลังปราสาทประธานของวัดพู จะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดทั้งปี
ชาวลาวเรียกว่า “น้ำเที่ยง” ซึ่งถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากยอดภูเกล้า
“ลิงคบรรพต” เปรียบประดุจไหลมาจากศิวลึงค์แห่งพระศิวะบนเขาไกรลาส
จึงถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่หากได้ปะพรมหรือดื่มกินแล้วจะเกิดสวัสดิมงคลด้วยพรแห่งพระเป็นเจ้า
ชาวลาวเรียกว่า “น้ำเที่ยง” ซึ่งถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ไหลมาจากยอดภูเกล้า
“ลิงคบรรพต” เปรียบประดุจไหลมาจากศิวลึงค์แห่งพระศิวะบนเขาไกรลาส
จึงถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่หากได้ปะพรมหรือดื่มกินแล้วจะเกิดสวัสดิมงคลด้วยพรแห่งพระเป็นเจ้า
หากเดินออกจากปราสาทประธานไปยังโขดหินด้านหลังทางทิศเหนือ
จะพบรูปแกะสลักนูนสูงของ “ตรีมูรติ”
หรือรูปเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์แห่งศาสนาฮินดู
มีพระศิวะ 5 เศียรอยู่กลาง (เรียกว่า พระสทาศิวะ) พระพรหมอยู่ด้านขวา
ส่วนพระนารายณ์อยู่ด้านซ้าย การที่สลักรูปพระศิวะไว้ตรงกลางสำคัญที่สุด
บ่งบอกว่าปราสาทวัดพูเป็นเทวสถานใน “ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย” คือศาสนาอินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวงนั่นเอง
จะพบรูปแกะสลักนูนสูงของ “ตรีมูรติ”
หรือรูปเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์แห่งศาสนาฮินดู
มีพระศิวะ 5 เศียรอยู่กลาง (เรียกว่า พระสทาศิวะ) พระพรหมอยู่ด้านขวา
ส่วนพระนารายณ์อยู่ด้านซ้าย การที่สลักรูปพระศิวะไว้ตรงกลางสำคัญที่สุด
บ่งบอกว่าปราสาทวัดพูเป็นเทวสถานใน “ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย” คือศาสนาอินดูที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่เหนือเทพเจ้าทั้งปวงนั่นเอง
หากเดินเลยต่อไปอีกไม่ไกล ก็จะพบกับกลุ่มหินแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ
ทั้งรูปช้าง รูปงู และรูปจระเข้ ซึ่งเป็นร่องรอยคติความเชื่อท้องถิ่นก่อนจะนับถือพุทธศาสนา
สัตว์เหล่านี้ได้รับการตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
ที่น่าสนใจคือรูปสลักจระเข้ที่แกะเป็นร่องลึกคล้ายมนุษย์
ซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า นี่อาจเป็นร่องรอยของการ “บูชายัญ” มนุษย์ตามที่ระบุไว้ในจดหมายเหตุจีนก็เป็นได้
ทั้งรูปช้าง รูปงู และรูปจระเข้ ซึ่งเป็นร่องรอยคติความเชื่อท้องถิ่นก่อนจะนับถือพุทธศาสนา
สัตว์เหล่านี้ได้รับการตีความว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
ที่น่าสนใจคือรูปสลักจระเข้ที่แกะเป็นร่องลึกคล้ายมนุษย์
ซึ่งนักวิชาการบางท่านเชื่อว่า นี่อาจเป็นร่องรอยของการ “บูชายัญ” มนุษย์ตามที่ระบุไว้ในจดหมายเหตุจีนก็เป็นได้
แม้ว่าปราสาทวัดพูจะมีสภาพที่เก่าแก่ปรักหักพังตามกาลเวลา
ไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการเท่าปราสาทนครวัดที่เป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก
แต่คุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้
ในฐานะจุดกำเนิดอารยธรรมกัมพูชาสมัยเจนละผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ในอดีต
ต่อเนื่องมาจนกลายเป็นศูนย์รวมความศรัทธาในจิตใจของชาวลาวเจ้าของพื้นที่ในปัจจุบัน
ก็ยิ่งใหญ่สมควรแก่การมาเยี่ยมเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิต
ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านและเพื่อทำความความเข้าใจวิถีศรัทธาของประเทศเพื่อนบ้านได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการเท่าปราสาทนครวัดที่เป็นสิ่งมหัสจรรย์ของโลก
แต่คุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้
ในฐานะจุดกำเนิดอารยธรรมกัมพูชาสมัยเจนละผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ในอดีต
ต่อเนื่องมาจนกลายเป็นศูนย์รวมความศรัทธาในจิตใจของชาวลาวเจ้าของพื้นที่ในปัจจุบัน
ก็ยิ่งใหญ่สมควรแก่การมาเยี่ยมเยือนสักครั้งหนึ่งในชีวิต
ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านและเพื่อทำความความเข้าใจวิถีศรัทธาของประเทศเพื่อนบ้านได้ดียิ่งขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น