พระนางศิลาขาว ผู้สร้าง สระอาบน้ำพุร้อน ที่ภูเขาสุวรรณคีรี พ.ศ.๑๑๙๗


 (เกร็ดประวัติศาสตร์) พระนางศิลาขาว ผู้สร้าง สระอาบน้ำพุร้อน ที่ภูเขาสุวรรณคีรี พ.ศ.๑๑๙๗

เรื่องราวของ พระนางศิลาขาวผู้สร้างสระน้ำพุร้อน ในสมัยโบราณ ไม่เคยพบในหลักฐานประวัติศาสตร์ใดๆ มาก่อน แต่พบว่า มีประชาชนส่วนหนึ่งในท้องที่ บ้านพรุยายชี ต.ปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ พระนางศิลาขาว หรือ พระนางหินขาวเป็นประเพณีสืบทอดยาวนานมาแล้ว เรื่องราวของ พระนางศิลาขาวเป็นที่สนใจมากขึ้นที่ สระน้ำพุร้อน ของ สยามน้ำพุร้อน ไชยา เนื่องจากมีผู้ป่วยอัมพฤต ที่มาอาบน้ำพุร้อน ที่ สยามน้ำพุร้อน ไชยา ได้หายป่วยจากอัมพฤต จึงได้มาสร้าง ศาลพระนางศิลาขาวขึ้นบริเวณสามแยกทางเข้า สยามน้ำพุร้อน ไชยา เพื่อถวายให้เป็นที่ประทับดวงวิญญาณ ของ พระนางศิลาขาว
หลังจากการที่ชาวท่าข้าม ได้มาขอสร้างศาลที่ประทับดวงวิญญาณ ของ พระนางศิลาขาว ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ดวงวิญญาณของ พระนางศิลาขาวจะไปประทับร่างสัตรีที่ชอบแต่งชุดขาวชีพราหม ที่มาอาบน้ำพุร้อน บ่อยครั้ง ผลการซักถามดวงวิญญาณที่มาประทับร่างหลายครั้ง และการตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์ต่างๆ สามารถสรุปเรื่องราวของ พระนางศิลาขาวผู้สร้างสระอาบน้ำพุร้อน เพื่อ กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ ที่บริเวณหน้าถ้ำ ภูเขาสุวรรณคีรี ได้ดังนี้
พระนางศิลาขาว(พระนางมัญชุศรี) เป็นพระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ กับ พระนางนวลจันทร์ซึ่งเป็นพระพี่นางของ พระนางจันทร์เทวี(ผู้สร้างแคว้นหิรัญภุญชัย) และ พระนางศรีจันทร์(อัครมเหสีของจตุคามรามเทพ) มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงมัญชุศรี ประสูติที่เมืองนครปฐม แคว้นจักรนารายณ์ ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิต มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง พระนาม เจ้าหญิงเหมรินทร์ เป็นอรรคมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง คือ มหาราชาศรีสงครามธนัญชัย(พ่อใบทอง เคยปกครองอาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา) จึงเป็นพระราชนัดดา(หลาน) ของ พระนางมัญชุศรี(พระนางศิลาขาว) ด้วย
เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ชนะสงครามแย่งม้า ก็ตัดสินพระทัยที่จะใช้พื้นที่เกาะดอนขวาง พื้นที่ประมาณ ๒๕ ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง มีศูนย์กลางกลางอำนาจรัฐ(พระราชวังหลวง) อยู่ในที่พื้นที่เกาะดอนขวาง บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี จึงรับสั่งให้พระราชโอรส ๒ พี่น้อง คือ เจ้าชายหะนิมิต และ เจ้าชายศรีไชยนาท นำไพร่พลมาขุดสระบัวขึ้น ๒ สระ เมื่อสำเร็จจึงถูกประชาชนเรียกชื่อว่า สระบัวกษัตริย์ ๒ พี่น้อง และรับสั่งให้ พระนางมัญชุศรีนำไพร่พลมาขุดสระอาบน้ำพุร้อน ขึ้นมาที่หน้าถ้ำของ ภูเขาสุวรรณคีรี จนสำเร็จ
เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(หะนิมิต พระภัสดา ของ พระนางมัญชุศรี) สวรรคต และ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ พระราชบิดาของ พระนางมัญชุศรี(พระนางศิลาขาว) ขึ้นครองราชย์เป็น มหาจักรพรรดิของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๓ ทำให้ พระนางมัญชุศรี ต้องออกผนวชเป็นแม่ชี ตามราชประเพณี ที่ พรุยายชี(ต.ปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) พระนางได้นั่งปฏิบัติธรรมอยู่บนก้อนหินก้อนใหญ่ จนกระทั่งก้อนหินสีเทา กลายก้อนหินเป็นสีขาว พระนางมัญชุศรี ได้เสด็จมาที่สระอาบน้ำพุร้อน เพื่อนำพืชสมุนไพรมารักษากษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ ที่มาอาบน้ำพุร้อน จนสิ้นพระชน ประชาชนจึงเรียกพระนาม ของ พระนาง ใหม่ว่า พระนางศิลาขาว หรือ พระนางหินขาวดวงวิญญาณของพระนางศิลาขาว จึงยังคงวนเวียนผูกพันอยู่กับสระน้ำพุร้อน บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี จนถึงปัจจุบัน
เมื่อตรวจสอบร่องรอย ของ สระอาบน้ำพุร้อน หน้าถ้ำ เพื่อ กษัตริย์และพวกราชวงศ์ และหลักฐาน ส.ค.๑ เลขที่ ๕๐๕(ของนายชู ผอมกลัด) และ ส.ค.๑ เลขที่ ๑๒๖(ของนายเคว็จ จำเนียร) ที่ต่อเขตกับภูเขาสุวรรณคีรี พบว่า สระอาบน้ำพุร้อนโบราณ น่าจะมีขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร ลึกประมาณ ๑ เมตร น้ำพุร้อนต้นทางมีอุณหภูมิประมาณ ๖๕ องศาเซ็นเซียส ผุดออกจากบริเวณโคนต้นมะขามใหญ่เนินเขา ลงสู่สระอาบน้ำพุร้อน โดยแยกไหลออกเป็น ๒ ทาง ทางตรงตรงไหลลงสระ และอีกทางหนึ่งน้ำพุร้อน จะไหลแยกออกไปทางทิศใต้ ไม่ไหลลงสระ เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ของ สระอาบน้ำพุร้อน ให้เหมาะสมกับร่างกายของมนุษย์ จึงใช้เป็นที่สรงน้ำ ของ กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ สืบทอดต่อเนื่องกันมา
ต่อมาเมื่อกองทัพแจงกิสข่าน(เตมูจิน) ส่งกองทัพเข้ายึด เกาะสุมาตรา ไปครอบครองสำเร็จ ศาสนาอิสลามจึงเริ่มเข้าสู่ดินแดน เกาะสุมาตรา และในปี พ.ศ.๑๗๖๖ แม่ทัพมุสลิม ของ แจงกิสข่าน ชื่อ แม่ทัพมุสลิมแซยิสอาเจ๊ะ ได้ยกกองทัพที่มีอาวุธระเบิด ปืนใหญ่ ปืนนกสับ เข้าตีกองทัพเสียม ที่ยังใช้อาวุธมีดดาบ และ ธนู จึงถูกฆ่าตายจำนวนมาก กองทัพมุสลิมแซยิสอาเจ๊ะ สามารถยึดกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นผลสำเร็จ ทำการเผาพระราชวังหลวง และบ้านเรือนของประชาชน ในกรุงศรีโพธิ์ เรียบเป็นหน้ากลอง พระยาร่วง ได้มาสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่บางยาง อีกประมาณ ๒๐ ปี เพื่อทำการรวบรวมไพร่พลที่หลงเหลืออยู่ อพยพไปใช้ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) กรุงสุโขทัย เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม ในช่วงเวลาดังกล่าว กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงร้างไป พร้อมๆ กับ สระอาบน้ำพุร้อน จึงตื้นเขินและร้างไปด้วย
พระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แห่ง สวนโมกข์ผลาราม เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านชอบมานั่งวิปัสสนากรรมฐาน บนยอดเขาสุวรรณคีรี และ เนินเขาหน้าถ้ำ เป็นประจำ และเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๓ ท่านได้ขุดสระน้ำพุร้อนในที่เดิมกว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร ลึกประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ก้อนหินจัดรอบๆ สระ เพื่อรับน้ำพุร้อน ประชาชนได้มาใช้น้ำพุร้อน ดังกล่าว ลวกเป็ดไก่ เพื่อถอนขน และใช้ต้มไข่ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๒๙ ทางราชการได้มาพัฒนาสระน้ำพุร้อน ขึ้นใหม่ ดังในภาพ และกลายเป็นบ่อทิ้งขยะ ในปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ