พระเกตมาลา ผู้สร้างนครวัด มาประทับที่ อาณาจักรชวาทวีป กรุงศรีพุทธิ พ.ศ.๑๓๔๖


 พระเกตมาลา ผู้สร้างนครวัด มาประทับที่ อาณาจักรชวาทวีป กรุงศรีพุทธิ พ.ศ.๑๓๔๖

สืบเนื่องจากรัฐของชนชาติทมิฬโจฬะ ได้เคยส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา เมื่อปี พ.ศ.๑๓๓๓ เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง ต้องนำกองทัพเสียม เข้าทำสงครามขับไล่ข้าศึกทมิฬโจฬะให้ออกไปจากอาณาจักรคามลังกา สงครามที่อาณาจักรคามลังกา ครั้งนั้น พ่อพระทอง ได้ พระนางทวดี เป็นชายา จนพระนางทวดี ทรงพระครรภ์ เมื่อประสูติพระราชโอรส มีนามว่า เจ้าชายเกตุมาลา

จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๓๓๙ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง(สิทธิยาตรา) ได้สำเร็จภารกิจ ในการทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมรน้ำ) เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เสด็จไปยัง อาณาจักรคามลังกา อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตามหา พระราชโอรส พระเกตมาลาซึ่งมีพระชนมายุ ๕ พรรษา(พ.ศ.๑๓๔๔) กับ พระนางทวดี ซึ่งหายสาบสูญไป เพื่อนำไปเลี้ยงดูบวชเรียน ณ กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป) แต่ไม่พบ จนกระทั่ง พ.ศ.๑๓๔๕ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง เสด็จสวรรคต โดยไม่เคยพบ เจ้าชายเกตุมาลา

อีก ๒ ปีต่อมา(พ.ศ.๑๓๔๖) เชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์ อาณาจักรคามลังกา ต้องเดินทางมาเคารพพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิพ่อพระทอง จึงได้นำ เจ้าชายเกตมาลา เดินทางมาเคารพ พระบรมศพของ พระราชบิดา ด้วย ซึ่งขณะนั้น เจ้าชายเกตมาลา มีพระชนมายุ ๗ พรรษา ถึงเวลาออกบวชเป็นสามเณร มหาจักรพรรดิพ่อสิริกิติซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดา จึงส่งไปให้ มหาราชาศรีพาลบุตร แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป) พี่น้องต่างมารดา เลี้ยงดู และได้บวชสามเณร ที่วัดศรีราชัน เมืองศรีพุทธิ(ดอนธูป) อาณาจักรชวาทวีป ตามราชประเพณี เมื่อปี พ.ศ.๑๓๔๖

กล่าวกันว่า พระเกตมาลา เดิมมีพระนามอื่น พระนามเกตมาลา เป็นพระนามที่ประชาชน เมืองศรีพุทธิ(ดอนธูป) ตั้งชื่อใหม่ให้ เนื่องจาก เมื่อ พระเกตมาลา ลาสิขา เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา(พ.ศ.๑๓๕๑) จะต้องออกฝึกวิชาทหาร ออกฝึกการขี่ม้า ขี่ช้าง ที่ทุ่งพระยาชนช้าง ได้ทรงม้า ท่องเที่ยวระหว่าง เมืองศรีพุทธิ(ดอนธูป) กับ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นประจำ ประชาชนที่พบเห็น เรียกพระเกตมาลา ว่า เณรเกต ต่อมา พระเกตมาลา เวลาทรงม้า ชอบสวมหมวก ประชาชน จึงเรียกชื่อใหม่ เณรเกตมาลา คือที่มาของ พระนาม พระเกตมาลาในเวลาต่อมา

เมื่อ เณรเกตมาลามีพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา(พ.ศ.๑๓๕๙) ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีราชัน(วัดสั่งประดิษฐ์) พร้อมกับเดินทางไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) อาณาจักรมาลัยรัฐ และสำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ณ มหาวิทยาลัย นาลันทา หลังจากสำเร็จการศึกษา ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น พระยาเกตุมาลา ได้เดินทางไปบวงสรวง เจดีย์บรมพุทโธ ที่ อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) จึงเป็นที่มาของแรงดลใจในการสร้าง ปราสาทนครวัดให้ยิ่งใหญ่กว่า เจดีย์บรมพุทโธ เมื่อ พระเกตมาลา เดินทางกลับมาที่กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกส่งให้ไปฝึกว่าราชการเป็น มหาอุปราช ที่ อาณาจักรชวาทวีป กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป) และฝึกการทำสงคราม ที่ ทุ่งพระยาชนช้าง

เมื่อ พระยาเกตุมาลามีพระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา(พ.ศ.๑๓๖๒) ก็ได้เสด็จจาก กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป) อาณาจักรชวาทวีป พร้อมกับ พราหมณ์ศิวไกวัลย์ ไปช่วยราชการ เป็น มหาอุปราช ณ อาณาจักรคามลังกา มีพระนามว่า มหาอุปราชพระยาเกตุมาลา ว่าราชการอยู่ที่ เมืองนครธมพร้อมกับได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ ภูเขากูเลน เรียกชื่อว่า เมืองอินทรปุระหรือ เมืองบันทายไพรนคร ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตก ของ สระบารายในพื้นที่ของ เมืองอินทปัต ขึ้นมาว่าราชการ เรียกว่า เมืองนครวัดโดยมี พระนางชเยษฐารายา ซึ่งเป็นสมเด็จย่า เป็น มหารายา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์(สมโบร์) ในขณะนั้น

ขณะที่ พระยาเกตุมาลามีพระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา(พ.ศ.๑๓๖๓) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ที่ทมิฬโจฬะ ปกครอง กลับคืนได้ไม่ต่ำกว่า ๕ แว่นแคว้น และยังส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ที่ไปสวามิภักดิ์กับ มหาอาณาจักรจีน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย พระยาเกตุมาลา ได้ส่งมอบ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ให้กับ อาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง ส่วนกษัตริย์ อาณาจักรโพธิ์หลวง ได้อพยพไพร่พลไปสร้าง อาณาจักรจามปาศักดิ์ แทนที่

ต่อมา พระนางชเยษฐารยา มหาราชาแห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงสมโพธิ์(สมโบ) ได้สละราชสมบัติให้ เจ้าพระยาเกตุมาลาซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ มีพระชนมายุครบ ๒๕ พรรษา(พ.ศ.๑๓๖๔) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยมี พระนางกัมพูชาลักษมีเป็นอัครมเหสี และมี พระนางปราณเทวี เป็น มเหสีฝ่ายซ้าย เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาเกตมาลา เริ่มสร้าง นครวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๓๖๔ เป็นต้นมา

เจ้าพระยาเกตุมาลามหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต ใช้ เมืองอินทระ(อินทปัต) เป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ในระยะแรก เจ้าพระยาเกตุมาลามีพระราชโอรส กับ พระนางกัมพูชาลักษมี คือ ธรรมวรรธนะ พระนางกัมพูชาลักษมีมีพระอนุชา มีพระนามว่า พระวิษณุวละ ซึ่งได้รับการเฉลิมพระนามใหม่ว่า พระลักษมีนทรดำรงตำแหน่ง พระคลังข้างที่ บุคคลเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการปกครอง อาณาจักรคามลังกา และการสร้าง ปราสาทนครวัด ในเวลาต่อมา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ