[ข่าวลุงพล] ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า


 

ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า

 

เป็นประเด็นดราม่า ให้กองแช่งได้ฮือฮาไม่น้อย สำหรับเรื่องราวของยูทูปเบอร์บ้านลุงพล เท่าที่ผมติดตามต้นสายปลายเรื่อง ก็ไม่ได้มีอะไรเลวร้าย เกินเลยไปกว่าที่จะเยียวยาไม่ได้ แต่กลุ่มฆาตกรออนไลน์ กลับโพสต์และคอมเมนต์กันอย่างเมามันส์ในโลกโซเซียล เสียวไปตามๆ กัน ห้ำหั่นราวกับสงครามโลก เพ้อพกตีอกชกลม ถ่มคำวาทกรรมยอดฮิต สะกิดต่อมปัญญาอ่อนของ Fc ให้กระดี๊กระด๊า  ฮา น้ำหมากกระจาย


อันที่จริงแล้ว สาเหตุเล็กๆ ถ้าเราหันหน้าคุยกัน เปิดใจคุยกัน โดยไม่เอาอารมณ์เป็นหลัก เรื่องราวแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เรื่องราวไม่ดีภายในกรอบกลุ่มชุมชนเรา ไม่ควรนำไปเล่าให้คนนอกบ้านฟัง และเรื่องราวไม่ดี คำนินทาว่าร้าย ที่คนภายนอกพูดถึงคนในชุมชนของเรา ก็ไม่ควรนำมาเล่าให้คนภายในของพวกเราฟัง


ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า บ้างก็ใช้ในอีกประโยคคือ ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้าความหมายคือ ไม่ควรนำเรื่องราวในครอบครัว หรือในบ้านไปพูดกับคนข้างนอก และในทางกลับกัน ก็ไม่ควรนำเรื่องนอกบ้าน (ที่ไม่จำเป็น) มาเป็นประเด็นในบ้านหรือในครอบครัวตัวเอง ในประโยคที่ใช้แทนว่า ไฟด้วยเป็นตัวแทนความร้อน เช่น เรื่องร้อนแรง หรือสิ่งไม่ดี ก็จะหมายถึงอะไรไม่ดีๆ ในบ้านไม่ควรนำไปพูด ซึ่งจะ ไฟในหรือ ความในมันก็เป็นประเด็นได้ไม่ต่างกัน


เริ่มจาก ขาดการพิจารณาว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ถ้าคนหนึ่งมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ ไฟคือคิดไปเองฝ่ายเดียวว่าไม่น่าเสียหาย ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงจึงเอาไปพูด แต่คนในบ้านไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูด ก็ย่อมไม่พอใจมีปัญหากันได้


การที่แม้เป็นแค่ ความในที่อาจหมายถึงเรื่องทั่วไป เรื่องที่เราก็คิดแล้วว่า ไม่น่าจะเสียหาย ก็ต้องไม่ลืมว่า เรื่องราวที่ถูกพูดต่อๆ กันไป ข้อความผิดเพี้ยน บิดเบือนได้เสมอ จากเรื่องดีๆ กลายเป็นไม่ดีก็มีมาแล้ว โดยอย่างยิ่งบนคำว่า สนุกปาก


แล้วก็ใช่เพียงสนุกปากคนอื่นเท่านั้น บางครั้งก็จากความสนุกปากเราเอง หรืออารมณ์ที่ขาดความยั้งคิด จะพูดจริง พูดเล่น พูดประชด คึกคะนองไป มันย้อนคืนไม่ได้ เมื่อมันเสียหายไปแล้ว เหตุไม่ใช่แค่ขาดความยั้งคิด ที่จริงก็ยากจะตัดสินและพิจารณาว่า เรื่องไหนดีเรื่องไหนไม่ดี เรื่องไหนอาจจะเสียหายไม่เสียหาย เมื่อมองเป็นกลางแล้ว บางเรื่องเราก็ไม่รู้ตัว หรือลืมตัว พูดไม่ทันคิดกันได้บ่อยๆ แต่ก็มีหลายกรณีที่เหตุไม่ใช่แค่ขาดความยั้งคิด เพราะคิดแล้วนี่แหละจึงพูดไป เพียงแต่เป็นการคิดในมุมเดียว เช่น เมื่อเกิดความน้อยใจ ความไม่สบายใจเกี่ยวกับคนในครอบครัว เราอยากปรึกษาใครสักคนย่อมทำได้ แต่บนความเป็นจริง น้อยคนนักที่จะต้องการ คำปรึกษาจริงๆมักแค่ต้องการบ่นระบายออกไป แล้วก็เป็นได้อีกว่าการบ่นระบายนั้น เพียงต้องการต่อว่าคนในบ้าน เพื่อความสะใจของตัวเองในเวลาอันสั้น แต่คนฟังนั้นคิดอีกอย่าง


ทุกวันนี้การมีโลกโซเชียล การบ่นระบาย หลายคนจึงทำได้ทันที เหตุอาจเพราะเรียกร้องความสนใจ ต้องการคนเข้าใจ เข้าข้าง ซึ่งเมื่อทำโดย ฉาบฉวยผลที่ได้ก็คือความห่วงใย ฉาบฉวยเช่นกัน อีกอย่าง แม้การนำข้อความบ่นระบาย บนความน้อยใจเสียใจเหล่านั้น โพสต์ลงไปแล้ว มีคนมาตอบให้คำปรึกษา ที่สุดแล้ว ก็มักไม่ใช่สิ่งที่คนโพสต์ต้องการ หากเป็นเรา เราอาจไม่รู้ตัว แต่เป็นคนอื่นลองทบทวนดูสิ เดี๋ยวเขาก็วนมาโพสต์อะไรคล้ายเดิมใหม่


การเพราะขาดความมั่นใจ คิดว่าการพูดออกไป จะทำให้คนอื่นเข้าข้าง เห็นใจ เรียกร้องสิ่งใดได้  สุดท้ายมันคือตรงกันข้าม เมื่อ ความในเผยไป คนในก็ดูเป็นผู้ร้ายไปแล้ว เขาจะอยากกลับมาหา พระเอกนางเอกอย่างเราไหมล่ะ ก็คงอาจคิดในใจไปเลยว่า โอเค ไม่เหมาะสมกันต่างคนต่างไป เช่นนี้ ก็ต้องระวังอารมณ์ ระวังความคิด สอบถามกันให้ชัดเจนว่าจริงเท็จอย่างไร และแม้จะเกี่ยวข้องจริง ก็ต้องดูเหตุผลนั้นๆ ซึ่งตรงนี้ มันไม่ใช่แค่การพูด แต่เกี่ยวโยงไปยังการกระทำด้วย โดยส่วนมากปัญหาต่อมา ก็คือ พอคุยกันแล้ว ได้ความอย่างไร เลยไปพูดนอกบ้านต่อ ซึ่งมองดูดีๆ นี่คือการรับรู้เรื่องราว ที่ทำลายความเป็นปกติสุขชัดเจน สุภาษิตญี่ปุ่นจึงมีประโยคหนึ่งที่ว่า เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ทุกข์


ผมก็ได้แต่หวังว่า ถ้าเราคิดว่าเราเป็นกองทัพ เราอาจจะอยู่ในฐานะทหาร ไม่ใช่นายกอง กองทัพ คนที่ลงทำศึกจริงๆ คือทหาร ถ้ากองทัพ มีเพียงนายกองออกรบ โดยไม่มีทหารติดตาม โอกาสพลาดพลั้งต่อข้าศึกก็มีไม่น้อย แต่ถ้าทหารที่ออกร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่นายกอง ไม่มีระเบียบวินัย ต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ตายอยู่ดี



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ