เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้ว อินแถลง ผู้สร้างหอคำหลวงเชียงตุง
เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้ว อินแถลง
เจ้าฟ้าเชียงตุงเจ้าฟ้าท่านนี้ ร่วมยุคสมัยกับ
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี เพราะเจ้าฟ้าก้อนแก้ว ท่านประสูติหลัง เจ้าดารารัศมี 2 ชันษา ส่วนพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา หรือตรงกับวันที่ ๒๖ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ คุ้มหลวงกลางเวียง นครเชียงใหม่ เป็นพระราชธิดา ในพระเจ้าอินทวิชยานนท์
กับแม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้น เป็นพระราชธิดา ในพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
และแม่เจ้าอุสาห์ พระมหาเทวี
สรุปง่ายๆ คือ เจ้าดารารัศมี เกิด พ.ศ. 2416 เจ้าฟ้าก้อนแก้ว
เกิดปี พ.ศ. 2418 ในสมัยเดียวกับ ยุครัชกาลที่ 5 ของไทย
เจ้าฟ้าก้อนแก้ว หรือที่ชาวเชียงตุงนิยมเรียกว่า
เจ้าฟ้าเฒ่า ผู้สร้างหอคำหลวงนั่นเอง
ท่านเป็นผู้เลื่อมใสในศาสนา และ ถือศีล5 รักษาวิชาอาคมอย่างเคร่งครัด
เจ้าฟ้าก้อนแก้ว เกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2418เป็นโอรสองค์ที่ 5 ของเจ้าฟ้าโชติกองไท ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าหอคำเชียงตุง
สืบแทนเจ้าพี่คือ เจ้าฟ้ามหาพยัคฆโชติ ที่สิ้นพระชนม์ใน ปี พ.ศ. 2441
ตลอดเวลา ที่เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงครองเมือง พระองค์ได้สร้างความเจริญ
แก่เมืองเชียงตุงเป็นอย่างมาก เช่น การสร้างถนนหนทาง ทำนุบำรุงพระศาสนา สร้างวัด
และบูรณะปฏิสังขรณ์ หลายแห่ง เช่น วัดหัวข่วงที่ถูกไฟไหม้ก็สร้างใหม่ มีการสร้างวัดพระเจ้าหลวง
ประดิษฐานพระพุทธมหามัยมุนีจำลอง สร้างหอหลวงใหม่เป็นตึกแบบอินเดีย รวมความว่า สิ่งใดที่จะนำความเจริญ
มาสู่บ้านเมือง เจ้าฟ้าก้อนแก้ว ก็ได้พยายามจัดขึ้น ทำขึ้น
การติดต่อกับเพื่อนบ้านอย่างล้านนา ก็ให้ตัดถนน
เป็นทางรถยนต์ ติดต่อกับเมืองเชียงรายซึ่งชายแดนติดต่อกับ เชียงตุง ทางตะวันตกก็มีทางรถยนต์ติดต่อกับ
เมืองตองยี
เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง มีชายา 6 พระองค์ มีโอรส-ธิดารวม
19
พระองค์ ได้แก่
1. เจ้าแม่ปทุมามหาเทวี
ราชธิดาเจ้าเมืองสิงห์ เป็นมหาเทวี(มเหสีเอก) มีราชธิดา 1 องค์ และ
ราชบุตร 1 องค์ คือเจ้าหญิงทิพย์เกษร เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ
เชียงตุง) (ต้นสกุล ณ เชียงตุง ได้สมรสกับเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง)
2. เจ้านางจามฟอง
เดิมเป็นสามัญชน มีราชบุตร-ราชธิดารวม 6 องค์ คือ
เจ้าฟ้ากองไท ได้เป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อ เจ้าอินทรา ได้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ เจ้าปราบเมือง เจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม
ต้นสกุล ขุนศึกเม็งราย
เจ้านางบัวสวรรค์ เจ้านางฟองแก้ว
3. เจ้านางบัวทิพย์หลวง
หรือเจ้านางทิพย์หลวง มี 5 องค์ ได้แก่
เจ้านางแว่นแก้ว เป็นมหาเทวีเจ้าฟ้าลอกจอก เจ้านางสุคันธา
ณ เชียงตุง สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ
เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 เจ้านางแว่นทิพย์ เป็นชายาเจ้าฟ้าแสนหวี
แต่ภายหลังหย่าร้าง เจ้าสิงห์ไชย เจ้าแก้วมาเมือง
4. เจ้านางแดงหลวง
มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้าสายเมือง เจ้านางจันทร์ฟอง สมรสกับข้าราชการป่าไม้ชาวไทย
5. เจ้านางบุญยวง
มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้านางฟองนวล เจ้าบุญวาทย์วงศา
6. เจ้านางบัวทิพย์น้อย
ได้แก่
เจ้านางบัวน้อย เจ้ายอดเมือง
เจ้าฟ้าก้อนแก้ว ท่านเป็นอุบาสกที่เคร่งครัดมาก ยึดศีล
5
เป็นหลักประจำใจ สมัยนั้นที่เชียงตุง ถือเป็นกฏเลยว่า ถ้าใครไม่ถือศีลห้า ไม่รับเข้าทำงานราชการ
ลูกผู้ชายทุกคน ต้องบวชเรียน
บทสัมภาษณ์ ของเจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่
ธิดาเจ้าฟ้าก้อนแก้ว ได้กล่าวว่า พวกเจ้าเมืองที่ขึ้นกับเมืองเชียงตุง
เมื่อเข้ามาคารวะเจ้าฟ้า ในพิธีคารวะ ซึ่งเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ในอาณัติ จะมาแสดงความจงรักภักดี
ต่อเจ้าฟ้าเชียงตุง ปีละสองครั้ง คือช่วงปีใหม่และออกพรรษา
พิธีดังกล่าวจะมีด้วยกันสองวัน วันแรกเป็นการรับประทานอาหารร่วมกับเจ้าฟ้า
โดยจะมีอาหารหลักอยู่ห้าอย่างคือ แกงฮังเล น้ำซุปถั่วลันเตา ผักกุ่มดอง แคบหมูกับน้ำพริกอ่อง
และ ข้าวเหนียว
ส่วนวันที่สอง จึงจะเป็น พิธีคารวะ ในวันนี้เจ้าพ่อจะประทับบนแท่นแก้ว
ส่วนพวกเจ้าเมืองจากสามสิบกว่าเมือง จะทยอยกันเข้าไปในห้อง พร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน
มาวางไว้ตรงหน้าแท่นประทับ ที่เจ้าพ่อประทับคนละขัน เชื่อไหมว่า เขาปักเทียนเล่มใหญ่อย่างกับท่อนไม้
มาในขันที่ทำจากเงินแท้ ตีเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางๆ เจาะรูตรงกลาง ประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยทั้งข้างบนข้างล่าง
เสียบมาโดยรอบเทียนจำนวนห้าดอก หลังจากนั้น เจ้าเมืองจะ “สูมา” หรือไหว้เจ้าพ่อ
เจ้าพ่อให้พรตอบ แล้วพวกช่างฟ้อนก็มาฟ้อนหางนกยูง
ให้พวกแขกบ้านแขกเมืองดู เป็นอันเสร็จพิธี”
เจ้าฟ้ารัตนก้อนแก้ว อินแถลง
ผู้เกิดร่วมสมัยเดียวกับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ต่างเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา
แต่ไม่เคยได้พบกัน เพราะเจ้าหญิงดารารัศมี ได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมากรุงเทพ และได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม
ตำแหน่งพระสนมเอก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กว่าครึ่งชีวิต ที่
สยามแต่ในบั้นปลายชีวิต บุตรชาย ของเจ้าแก้วนวรัฐ พระเชษฐาต่างมารดา ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
ก็ได้สมรส เชื่อมโยงสายใยผูกพันกันได้อย่างงดงาม กับเจ้านางสุคันธา
บุตรสาวเจ้าฟ้าก้อนแก้วได้เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งราชสำนักเชียงใหม่คือ เจ้าอินทนนท์
ณ เชียงใหม่ ราชบุตรพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ณ หอคำเชียงตุง
โดยมีเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เป็นเจ้าภาพเมื่อ
พ.ศ. 2476 มีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษ ผู้กำกับราชการนครเชียงตุง ร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส
เจ้านางสุคันธาและเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่
จึงเป็นสายใยแห่งความรัก ของราชสำนักเชียงใหม่-เชียงตุง รุ่นราชโอรส
ราชธิดา "เจ้าหลวง" สองราชสำนักรุ่นสุดท้าย โดยมีโอรส ธิดา 5 พระองค์
เจ้าแก้วนวรัฐ กับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เกื้อกูลรักใคร่กันอย่างดี
เป็นผู้ดูแล เจ้าดารารัศมี ในช่วงบั้นปลายชีวิต เจ้าดารารัศมี พระราชชายา
สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 เมื่อเวลา 15.14 น. ณ คุ้มรินแก้ว สิริพระชนมายุ 60 ปี 3 เดือน
ส่วนบั้นปลายชีวิต เจ้าฟ้ารัตนก้อนแก้ว อินแถลง
นั้นท่าน เสวยสวรรคาลัย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 สิริพระชนมายุ 62 พรรษา
ขอบคุณเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น