[ข่าวลุงพล] ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ หรือ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ตำรวจจะทำอย่างไร


 

๑๑ หรือ ๑๔ พค ๖๔   ตำรวจจะทำอย่างไร

 

งดหรือไม่งดการสอบสวน และใครมีอำนาจสั่งให้งดหรือไม่งดการสอบสวน คดีน้องชมพู่ วันที่ ๑๑ พค ๖๔ ครบรอบวันหาย วันที่ ๑๔ พค ๖๔ ครบรอบวันตาย  ดังนั้น  คดีฆาตกรรมน้องชมพู่  จึงอยู่ในช่วงวันที่ ๑๑ ถึง ๑๔


หลายคนให้ความเห็นว่า ถ้าครบหนึ่งปี คดีน้องชมพู่ ตำรวจจะดำเนินการต่อไปอย่างไร   งดการสอบสวน(ภาษาชาวบ้านเรียกว่าแขวนคดี) หรือไม่งดการสอบสวน และใครมีอำนาจในการสั่งให้งดหรือไม่งดการสอบสวน นักกฎหมายหลายคน ให้ความเห็นคลาดเคลื่อนกันไปตามประสบการณ์   ดังนั้นวันนี้ทนายขอเฉลยแบบเอากฎหมายมายัน เพื่อให้ไม่ต้องเป็นที่สงสัยกันต่อไป


ตาม ป.วิอาญา ม.๑๔๐ เมื่อพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบในการสอบสวน เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้


ถ้าไม่ปรากฏตัวผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด และความผิดนั้น มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี  ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวน และบันทึกเหตุที่งดนั้นไว้  แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี ให้พนักงานสอบสวน ส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน


ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามนั้น แต่เนื่องจากกฎหมาย ไม่ได้ระบุวันเวลาการงดการสอบสวนไว้ชัดเจน ดังนั้น ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ออกเป็นกฎหรือระเบียบ ให้เจ้าพนักงานดำเนินการดังนี้

    คดีที่งดการสอบสวน เพื่อมิให้สำนวนการสอบสวน ต้องตกอยู่กับพนักงานสอบสวนนานเกินควร ฉะนั้นคดีใดที่ไม่ปรากฏว่า ผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เห็นว่าได้สอบสวนมานานพอสมควร ที่จะเสนอของดการสอบสวน ให้ถือปฏิบัติ โดยถือตามระยะเวลาทีดำเนินการสอบสวนมาแล้ว ดังนี้


           . คดีอาญาทั่วไป จะต้องสืบสวนสอบสวน ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน

           ๒. คดีอุกฉกรรจ์ จะต้องสืบสวนสอบสวน ติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี


เมื่อคดีน้องชมพู่ เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี และเป็นคดีอุกฉกรรจ์ และไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด(คือคนร้าย) ดังนั้น ถ้าพนักงานสอบสวนจะงดการสอบสวน จะต้องทำการสืบสวนสอบสวนติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นั้นหมายความว่า ต้องให้เลยวันที่ ๑๔ พค ๖๔ โดยพนักงานสอบสวน มีอำนาจเพียงเสนอพนักงานอัยการ และทำความเห็นเพียงว่า " ควรให้งดการสอบสวน " ดังนั้น จะงดหรือไม่งด  ไม่ใช่อำนาจของพนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจของพนักงานอัยการชัดเจน โดยพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ให้พนักงานสอบสวนต้องทำตามคำสั่งนั้น


ชัดเจนแล้วนะครับ เมื่อครบหนึ่งปี พนักงานสอบสวน มีอำนาจเพียงเสนอความเห็นพร้อมสำนวนไปยังพนักงานอัยการ ว่าควรให้งดการสอบสวน แต่จะงดหรือไม่งด  เป็นอำนาจพนักงานอัยการครับ 


            เวลานี้  มีข่าวปลอม ข่าวปล่อย ว่าจะมีการจับชาย ๓ หญิง ๑ นั้นอาจจะเป็นการปล่อยข่าว เพื่อชี้นำตำรวจให้จับสักที่ หรือเป็นการปลอมข่าวเพื่อให้ FC ลุงพล ได้เฮ  แต่ที่ทราบว่า ตำรวจยังไม่ขยับอะไรเลย อาจจะเนื่องจากโควิด ๑๙ แต่เชื่อว่า หลังโควิด ๑๙ ตำรวจคงจะแถลงอะไรออกมาชัดเจน วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฏหมาย  ซึ่งอาจเข้าใจยาก  จึงขอเพียงสั้นๆ  เท่านี้ครับ


              ทนายนิทัศน์ ประเสริฐเนติกุล  จันทร์ ๑๐ พค ๖๔ ป่าตอง




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ