ข้อหาทอดทิ้งเด็ก อายุไม่เกิน 9 ปี เพื่อให้พ้นไปเสียจากตน
ยังคงเป็นข่าวร้อนให้ได้ติดตามกัน
กับเหตุการณ์เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เมื่อตำรวจสืบภาค 4 เข้าตรวจค้นบ้านลุงพล ในฐานะผู้ต้องหาพร้อมยึดโทรศัพท์
2 เครื่องเพื่อตรวจสอบ ก่อนจะเตรียมสรุปสำนวนส่งฟ้องอัยการภายในสัปดาห์หน้านี้
พลตำรวจตรี ณัฐนนท์ ประชุม ผู้การสืบภาค
4 ได้นำกำลังตำรวจ พร้อมหมายศาล เข้าตรวจค้นบ้านของลุงพล
สำหรับการตรวจค้นครั้งนี้เนื่องจากเมื่อวันที่
1 มิถุนายนที่ผ่านมา ศาลจังหวัดมุกดาหาร ได้ออกหมายจับลุงพล ทั้งหมด 3 ข้อหา คือ
พรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา โดยปราศจากเหตุอันควร /
ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน
โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย /
กระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ในบริเวณที่พบศพ ก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น
ในประการที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพ หรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป
วันนี้ ผมหยิบบทความของเพจสถานบันเทิง
เพื่อนำมาเผยแพร่ อีกหนึ่งข้อหา ที่ลุงพลโดนกล่าวหา นั่นก็คือ ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี
เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล
เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย
ณ วันเกิดเหตุ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โดยเมื่อวันที่ ๑ มิ.ย.๒๕๖๔
ตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอนุมัติออกหมายจับ นายไชย์พล วิภา อายุ ๔๔ ปี มีศักดิ์ในครอบครัวเป็นลุงเขย
ของอรวรรณ วงศ์ศรีชา ในฐานความผิดที่ ๒
"ทอดทิ้งเด็กอายุไม่เกินเก้าปี เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล
เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย"
ข้อหานี้ ตรงกับมาตรา ๓๐๖ ที่ระบุว่า
ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกิน ๙ ปีไว้ ณ ที่ใด เพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน
โดยประการที่ทำให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน
๖๐,๐๐๐
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำคัญที่ มีอยู่ว่า และหากการทอดทิ้งนั้น เป็นเหตุให้เด็กถึงแก่ความตาย
ผู้กระทำ ต้องระวางโทษดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นความผิดต่อชีวิต ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ตามมาตรา ๒๙๐ อันบัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๑๕ ปี (วรรค๒) ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด
ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙ ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี"
ในส่วน วรรค ๒ ของมาตรา ๒๙๐ นั้น จะเป็นส่วนที่กล่าวถึงลักษณะความผิดในการฆ่าบุคคลตามที่ระบุไว้ใน
มาตรา ๒๘๙ อันมี ๗ ลักษณะ ได้แก่
(๑) ฆ่าบุพการี
(๒) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่
หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตามหน้าที่
(๓) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่
หรือเพราะเหตุที่บุคคลนั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว
(๔) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
(๕) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
(๖) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ
หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น หรือ
(๗) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา
หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน
หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้
ความผิดฐานนี้ (มาตรา ๒๙๐) เริ่มมาจากเจตนาทำร้าย
มิได้มีเจตนาฆ่า แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการทำร้ายนั้น ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต
จึงเป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยบทบัญญัติของมาตรา ๓๐๘ เป็นเหตุเพิ่มโทษ ที่ว่า
"ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๐๖* หรือมาตรา ๓๐๗ เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้ง ถึงแก่ความตาย
หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๒๙๐* มาตรา ๒๙๗
หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น"
(สรุปสั้น ข้อหาที่ ๒ เป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๖
เมื่อตายด้วย จึงต้องใช้อัตราระวางโทษตามมาตรา ๒๙๐ เพราะมีบทเพิ่มในมาตรา ๓๐๖
กำหนดให้ใช้อัตราโทษในมาตรา ๒๙๐ ซึ่งเกี่ยวข้องกรณี)
ด้วยที่ว่าความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก
มีองค์ประกอบความผิดภายนอกคือ ทอดทิ้งเด็กไว้ ณ ที่ใดๆ สถานที่ทอดทิ้ง เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาน้ำหนักกรรม
ซึ่งเด็กนั้นมีอายุยังไม่เกิน ๙ ปี โดยประการที่ทำให้เด็กนี้ปราศจากผู้ดูแลคือ
ทำให้พ้นไปจากตนโดยปราศจากคนดูแล
ไม่มีคนเข้ามาดูแลเด็กแทนแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆก็ตาม
และมีองค์ประกอบความผิดภายในคือ เจตนาธรรมดา
โดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตน
ถ้าไม่มีมูลเหตุชัดจูงใจเพื่อให้พ้นไปจากตนก็ไม่มีความผิด
ทั้งนี้การทอดทิ้งนั้นคือ การเอาไปทิ้ง เอาไปปล่อย ไม่เอาเป็นธุระ ละเลย
เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นไปเช่นนี้ และเมื่อกรณีก็เป็นไปเช่นนั้น
(อรวรรณ วงศ์ศรีชา ถึงแก่ความตาย) ข้อกฎหมายที่นำใช้ จึงต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันในหลายมาตรา
สิ่งนี้มิต้องเป็นข้อควรกังวลแต่ประการใด ด้วยเป็นธรรมดาในแนวทางการพิจารณาความผิด
ตามพฤติการณ์แห่งรูปคดี
การพิจารณาวินิจฉัยความผิด จะเริ่มตั้งแต่ ข้อหาความผิดที่ ๑ คือพรากผู้เยาว์นั้น จากสาเหตุที่ว่าเป็นการเริ่มต้นแห่งกรรมทั้งปวง กล่าวคือ เมื่อ "พราก" จึงตามมาด้วย "ทอดทิ้ง" และซึ่งในขณะนี้ก็ยังมิทราบ/หาไม่พบ/คาดเดาไม่ได้ ถึงมูลเหตุจูงใจ จึงยังคงได้แต่เพียงปูเสื่อสนทนากันใต้ต้นมะม่วงว่า.." ใครเห็นการพรากล่ะน้อ พรากเอามาทิ้งเฉยๆ ไม่คิดอะไรมากก็ได้ฤๅ ใช่จริงๆ รึ ก็ถ้ามีใครเห็น ตรวจผมพร้อมก็ตั้งนานแล้ว ปล่อยมาได้ถึงปีเศษ มันก็ผิดสังเกตุอยู่นะ"
ซึ่งเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาทั่วๆ ก็ได้แต่เพียงคิดและกล่าวกันไปเท่านั้น สิ่งสำคัญที่เราต้องรอนั่นก็คือ
พยานหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อนำพิสูจน์ความ " พราก" มาถึงจุดที่รอมาปีเศษ
ด้วยความอดทนและเอาใจช่วย ในการทำงานของเจ้าหน้าที่เสมอมา
พร้อมทั้งเห็นถึงความปั่นป่วน ในส่วนไม่ควรจะเป็นมาก็มาก สักหน่อยดีไหม
หากเพจสถานบันเทิง จะทำความเห็นว่า
ถ้านายไชย์พล วิภา ไม่ได้พราก โดยเมื่อหากมีการฟ้องแล้ว
และมีการยกฟ้องนั้นไปเสีย จากความยังไม่สิ้นสงสัยที่มี จากพยานหลักฐานทั้งหมด อันจะพึงมีเพื่อพิสูจน์ความผิด
จะเท่ากับว่า นายไชย์พล วิภา เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่อรวรรณ วงศ์ศรีชา ถึงแก่ความตายโดยผู้อื่นอย่างแน่ชัด
ใครจะนำพาความตายสู่ อรวรรณ ได้อีกบ้าง สิ่งนี้ถือเป็นปัญหาในกระบวนการยุติธรรมมาอย่างยาวนาน
เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้นลงโดยการยกฟ้อง
เพจสถานบันเทิง มีความห่วงใยในต้นทางของกระบวนการยุติธรรม
และมีความคาดหวังว่า จะได้คำตอบจากสิ่งอันเรียกว่า ความยุติธรรม โดยคำตอบว่า
ใครนำพา อรวรรณ สู่ความตาย
ด้วยความเคารพ เพจสถานบันเทิง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น