หลวงพ่อพระไชยเชษฐา พระพุทธรูปล้านช้างศักสิทธิ์ วัดถ้ำสุวรรณคูหา


 

หลวงพ่อพระไชยเชษฐา พระพุทธรูปล้านช้างศักสิทธิ์ วัดถ้ำสุวรรณคูหา

 

ชาว อ.สุวรรณคูหา มีสิ่งเคารพบูชาสูงยิ่ง คือ หลวงพ่อพระไชยเชษฐา เป็นพระพุทธรูปปางมุจลินทร์ นาคปรก ๗ เศียร ที่ วัดถ้ำสุวรรณคูหา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาว อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลําภู ทั้งนี้ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระเจ้าแผ่นดินล้านช้าง ได้สร้างไว้เมื่อเกือบ ๕๐๐ ปีมาแล้ว พร้อมถวายวิสุงคามสีมาให้แก่วัด มอบ นาจังหัน” (ที่ทํากิน) ให้ชาวบ้านได้ทําไร่ทํานาและ ประกาศให้ผู้ที่ได้นาจังหันเสียภาษีร้อยละ ๑๐ ให้การทํานุบํารุงวัดสุวรรณคูหา และหลังฤดูเก็บเกี่ยวชาวบ้านก็นําภาษีมาส่งให้วัด

ช่วงดังกล่าวเข้าสู่ฤดูหนาว ชาวบ้านต้องมาพักอาศัยค้างแรมในบริเวณวัด จึงต้องนําข้าวเหนียวนึ่งมาปั้นย่างไฟเป็นข้าวที่กินกัน และถวายเป็นการสักการะหลวงพ่อพระไชยเชษฐา และถวายพระสงฆ์ จนกลายเป็น ประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน

แต่ละปีชาวบ้านที่นี่มีหน้าที่ต้องทําข้าวจี่ยักษ์ที่น่าจะบอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเจริญของบ้านเมือง ความศรัทธาของชาวบ้าน สืบสานประเพณีที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ดีและความภาคภูมิใจของคน อ.สุวรรณคูหา และ จ.หนองบัวลําภู

 



วัดถ้ำสุวรรณคูหาเป็นวัดที่มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนไว้เรียบร้อยแล้ว ในสมัยก่อนเป็นวัดอรัญวาสี (ธรรมยุต) ปัจจุบันเป็นวัดมหานิกาย สร้างในภูเขาหินปูน โดยพระเถระในสมัยนั้นได้ ดัดแปลงถ้ำให้เป็นที่พักอาศัยจําวัดบําเพ็ญภาวนา ภูเขาลูกดังกล่าวมีถ้ำอยู่กว่า ๔๐ ถ้ำ มีถ้ำใหญ่เรียกว่าถ้ำสุวรรณคูหา ใช้เป็นสถานที่ทําสังฆกรรม (ลงอุโบสถ)

 

ภายในถ้ำมีพระประธานปางมุจลินท์ ศิลปะสมัยล้านช้าง มีนาคปรก ๗ เศียร หน้า ตักกว้าง ๔ เมตร สูง ๕ เมตร สร้างด้วยปูนทราย มีส่วนผสมเป็นปูนขาว ๒ ส่วน ทราย ๕ ส่วน น้ำมะขาม ๒ ส่วน ก่ออิฐเป็นโครงสร้างภายใน มีชื่อเรียกว่า พระไชยเชษฐาสร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง

 

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ได้ทรงทำนุบำรุงวัดถ้ำสุวรรณคูหา ถึงแม้ไม่ได้สร้างถาวรวัตถุ (พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีไม่พึงประสงค์) แต่ก็ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา แก่วัดถ้ำสุวรรณคูหา ถึงด้านละ ๑,๐๐๐ วา (๒,๕๐๐ไร่) และได้พระราชทานนาจังหันอีกมากมาย (นาจังหันคือพื้นทีที่เป็นสิทธิ์ของวัด ผลิตผล เช่น มะพร้าว ตาล หมาก ฯลฯ ต้องเป็นสิทธิของวัดร้อยละ ๑๐ นั่นคือชาวบ้านทำไร่ทำนาได้ต้องนำมาถวายวัด ๑ ถัง ทุกๆจำนวน ๑๐ ถัง คือบ้านนาปู บ้านนาสิกส้าง บ้านนาต้น บ้านนาแพงเมือง ชาวบ้านที่ทำนาในพื้นที่เหล่านี้ ไม่ต้องถูกเกณฑ์ทหารและไม่ต้องเสียภาษี (ตามภาษาถิ่นเรียกว่าส่วยไร่) แก่เจ้าเมือง แต่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงวัดถ้ำสุวรรณคูหา คือนำผลผลิตจากเรือกสวนไร่นามาถวายวัดร้อยละ ๑๐) นอกจากนี้ในศิลาจารึกของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ยังได้กล่าวถึงเมืองสำคัญในระแวกวัดถ้ำสุวรรณคูหา นี้ด้วย คือ เมืองนาสี (บ้านนาเสีย) เมืองนาขาม(บ้านนาขาม) เมืองหินซน (บ้านวังหินซา) เมืองชนู (บ้านกุดฮู) เป็นต้น

 


ยังมีใจความกล่าวถึงพระเถระชั้นผู้ใหญ่วัดถ้ำสุวรรณคูหา ชื่อว่า พระมหาอินทรวัชสังวรเจ้า รวมถึงตอนท้ายศิลาจารึกประกาศว่า ท้าวมาลุน ขุนมาใหม่ได้อย่าได้มา มล้างพระราชอาญา ผู้ใดหากโลภตัณหามากแล มล้างพระราชอาญา ให้ผู้นั้นไปสู่อุบายทุกข์ทั้งสี่ ท้าวพระยาที่มีอำนาจภายหลัง อย่าได้ลบล้างคำสั่งของพระราชอาญานี้ หากใครมีใจโลภมาลบล้างคำสั่งนี้และยึดเอาสิ่งของไร่นานี้เป็นของตน ขอให้ตกนรกหรืออุบายภูมิทั้งสี่

 

ความสำคัญทางด้านสังคมวัฒนธรรม จากการศึกษาศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหานี้ พบว่ามีชุมชนที่เป็นหมู่บ้านและเป็นเมืองอยู่จำนวนไม่น้อย เพราะดินแดนภาคอิสานในสมัยอยุธยาตอนต้น ไม่พบว่ามีเอกสารทางด้านประวัติศาสตร์ใดๆ กล่าวถึง จะเป็นพระราชพงศาวดารอยุธยา หรือพระราชพงศาวดารลาวก็หาได้กล่าวถึง ชื่อบ้านนามเมืองในแถบนี้ไม่ แต่จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกวัดถ้ำสุวรรณคูหานี้ ทำให้เราทราบถึงชุมชนอิสานบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนเหนือได้ ถึงแม้จะไม่ได้รายละเอียดมากนักก็ตาม แต่ก็ได้กล่าวถึงชื่อบ้านนามเมือง จำนวนไม่น้อย เช่น เมืองนาเรือ เมืองนาขาม เมืองหินซน เมืองชนู และชุมชนแบบหมู่บ้าน อีก เช่นนาปู นาท่าเป็ด นาหัน นาไก่เขี่ย นาแพงเมือง และนาสีกส้าง เป็นต้น

 


พระอธิการเพิ่ม พุทธธัมโม เจ้าอาวาส วัดถ้ำสุวรรณคูหา เปิดเผยว่า ปัจจุบันจะมี ชาวบ้านมาจากหลายแห่งทั้งภาคอีสานหรือภาคอื่นๆ เดินทางมากราบไหว้ บนบานศาลกล่าว ด้วยการนําดอกไม้ธูปเทียน โพธิ์เงิน โพธิ์ทอง พวงมาลัย มากราบไหว้ขอพร พระไชยเชษฐา ชาวบ้านทําไร่ทํานาก็ขอให้มี ผลิตผลออกมาดีไร่นาอุดมสมบูรณ์ หลายคนมาบนบานขอให้มีตําแหน่งหน้าที่ดีๆ สอบได้ที่ดี หรือทํามาหากินมีรายได้ดี ซึ่งก็ มักประสบผลสําเร็จลูกศิษย์ลูกหาที่ศรัทธาก็ สร้างองค์พระไชยเชษฐาจําลองมาถวาย

 

ส่วนคนในอําเภอสุวรรณคูหา หากจะ ออกไปต่างจังหวัดไปทํางานต่างถิ่นหรือ ออกไปประกอบอาชีพที่อื่น จะเข้ามา กราบไหว้ขอพร ขอให้แคล้วคลาด หรือมี รายได้กลับมาเป็นกอบเป็นกํา ซึ่งมักจะ เห็นผลบางคนถึงกับปวารณาตัวกลับเข้า มาบํารุงรักษาวัด

 

และในวันขึ้น ๑๓-๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปีอําเภอสุวรรณคูหา ร่วมกับเทศบาล ตําบลสุวรรณคูหา จะจัดงานบวงสรวง พระไชยเชษฐาเป็นประจําทุกปี โดยจะมี ชาวบ้านร่วมนําข้าวเปลือก ข้าวสาร ผลิตผลทางการเกษตร นํามาถวาย จัดขบวนแห่รําฟ้อนอย่างสวยงาม

 

ที่ถือปฏิบัติมิได้ขาดเป็นประเพณีสืบต่อ กันมาตั้งแต่โบราณ คือ การที่ชาวบ้านใน สมัยก่อนในนาจังหัน เมื่อนําสิ่งของมาถวาย เพื่อทํานุบํารุงรักษาวัด ซึ่งอยู่ในช่วง ๑๔-๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะนําข้าวเหนียวนึ่งมาในย่างไฟเป็นข้าวจี่ มีการ ร่วมวงกินร่วมกันและสนทนาพาทีกัน เรียกกันว่ารวมบุญข้าวจี่



ก่อนจะรับประทาน ต้องถวายพระสงฆ์ เป็นภัตตาหาร ได้ถือปฏิบัติมาช้านานจน ปัจจุบันกลายเป็นประเพณีบุญข้าวจี่ ซึ่ง คณะกรรมการจัดงานก็ได้จัดสร้างข้าวจี ยักษ์ขนาดใหญ่ถวายหลวงพ่อพระไชยเชษฐา ก่อนจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มา ร่วมงานได้รับประทาน ถือเป็นการรับบารมีหลวงพ่อพระไชยเชษฐาที่มีประชาชนมาร่วมงานกันเป็น จํานวนมากในทุกปีด้วย

แหล่งข้อมูล 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ