บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2021

สมัยล้านนายุคทอง

รูปภาพ
 สมัยล้านนายุคทอง ความ เจริญของล้านนาเริ่มปรากฎอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา ด้วยการทำให้เชียงใหม่เป็นศุนย์กลางศาสนาแทนหริภุญชัยพระองค์ทรงรับพุทธ ศาสนานิกายลังกาวงศ์จากสุโขทัย และอาราธนาพระสุมนเถระมาจำพรรษาที่วัดสวนดอก ในระยะนี้นิกายวัดสวนดอกในเชียงใหม่ ได้รุ่งเรืองมากและมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ นิกายรามัญ ” หรือตั้งแต่ราวช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา   ในช่วงเวลานี้หลักฐานสำคัญคือ จารึกวัดพระยืนกล่าวถึงการอัญเชิญพระธาตุโดยพระสุมนเถระจากสุโขทัยขึ้นมา เชียงใหม่ในรัชกาลพระเจ้ากือนารูปแบบสถาปัตยกรรมได้ปรากฏเจดีย์ทรงกลม ดังตัวอย่างสำคัญที่ เจดีย์วัดสวนดอก เชียงใหม่ เป็นที่พระเจ้ากือนาโปรดให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระสุมนเถระ เป็นต้น และเจดีย์ที่ใช้รูปแบบเจดีย์สุโขทัย ดังตัวอย่างสำคัญที่นักวิชาการเชื่อว่าน่าจะปรากฏในช่วงนี้คือ เจดีย์กู่ม้า ลำพูน เป็นต้น   สถาปัตยกรรมในช่วงเวลาข้างต้นถือได้ว่ามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเผย แพร่พุทธศาสนาลังกาวงส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ นิกายรามัญ ”   เมื่อล่วงถึงรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมา และสามประห...

ดินแดนล้านนา เมืองเชียงใหม่

รูปภาพ
  ดินแดนล้านนา เมืองเชียงใหม่   ดินแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม ในอดีต รัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไปถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐชานตอนใต้ สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญมี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกนี้มีความสัมพันธ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่ม ต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง มีความใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัย และรัฐอาณาจักรล้านนา เพิ่งผนวกเอา ดินแดนแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษา...

ล้านนาเมื่อวันวาน

รูปภาพ
พระเจดีย์ประธานที่วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพญามังราย โดยใช้วิธีกระสวนแบบ (ลอกแบบ) จากพระเจดีย์วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน   บรรยากาศบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของผู้คนในหัวเมืองทางเหนือของไทยเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก อยู่เนืองๆ เช่นสารคดีเรื่อง “ ตามหาไม้กระเบา ” หรือ “Hunting for Chaulmoogra Tree” ในฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 1922 และอีกครั้งในสารคดีเรื่อง “ จับเสือที่ป่าเมืองน่าน ” หรือ “The Warfare of the Jungle Folk” ในฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928   เชียงใหม่คือศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนามาแต่พุทธศักราช 1839 ในสมัยพญามังราย ด้วยชัยภูมิลุ่มน้ำแม่ปิงที่เหมาะสม สายน้ำแม่ปิงเปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงบำรุงเมืองทั้งด้านความเป็นอยู่ การเดินทาง และการค้า ด้วยเหตุที่ดินแดนนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างไทยกับพม่า ฉะนั้น การได้ล้านนาเป็นเมืองประเทศราชจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นฐานที่มั่นในการเกณฑ์กำลังคน เสบียงอาหาร อาวุธเกื้อกูลต่อการยกทัพ ในยุคที่มากด้วยการกรำศึกและผลัดแผ่นดินอยู่มิว่างเว้น สองร้อยกว่าปีที่ล้านน...

เจ้านางแว่นทิพย์ กระจกวิเศษอันเป็นนิรันดร์

รูปภาพ
  เจ้านางแว่นทิพย์   เจ้านางแว่นทิพย์ เป็นธิดาในเจ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง เมื่อเจริญวัยได้เข้าศึกษาที่โรงเรียน เซนต์ ไมเคิล ที่เมืองเมเมียว และต้นปี ค.ศ. 1932 เจ้านางย้ายไปศึกษาที่เมืองกะลอ และเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับเจ้าเฮือนคำแห่งเมืองแสนหวี เจ้าเฮือนคำกล่าวว่า ครั้งแรกที่พบเจ้านางแว่นทิพย์ ก็รู้สึกถูกชะตาในทันที เจ้านางแว่นทิพย์มีไหล่ตรงผึ่งผาย ผิวกระจ่างใสราวเครื่องเคลือบชั้นดี แสดงถึงหญิงสูงศักดิ์ที่มาจากตระกูลขุน เจ้านางยิ้มง่าย พูดภาษาอังกฤษเก่ง แต่ดูดื้อรั้นอยู่ในที ละม้ายกับเจ้านางทิพย์ธิดา ผู้มีศักดิ์เป็นป้า ซึ่งในอดีตเป็นถึงผู้สำเร็จราชการหญิงแห่งเมืองเชียงตุง เมื่อมาศึกษาที่เมืองกะลอ เจ้านางแว่นทิพย์มีชื่อใหม่ว่า โจน เมื่อเจ้านางแว่นทิพย์มีอายุได้ 16 ปีบริบูรณ์ ก็ได้รับหมายเรียกตัวเข้าหอแสนหวี เพื่อเป็นชายาองค์ใหม่ของเจ้าฟ้า ทุกคนรู้สึกตกใจมาก เพราะเจ้าฟ้าเมืองแสนหวีนั้น มีมหาเทวีและบุตรอยู่แล้ว แต่ทว่าเจ้านางแว่นทิพย์กลับนิ่งเฉย และกล่าวว่า ไม่รู้สึกเสียใจอะไร ที่ต้องสมรสกับเจ้าห่มฟ้าเจ้าฟ้าเมืองแสนหวี บางที เจ้านางอาจจะรู้ชะตาชีวิตของตน...

“พระยารัตนาณาเขตร์” (น้อยเมืองไชย) เจ้าเมืองเชียงรายองค์สุดท้ายที่ถูกลืม

รูปภาพ
    “ พระยารัตนาณาเขตร์ ” ( น้อยเมืองไชย) เจ้าเมืองเชียงรายองค์สุดท้ายที่ถูกลืม   “ จังหวัดเชียงราย ” ในอดีตเป็นเมืองที่พญามังรายสร้างต่อจาก “ เมืองเชียงแสน ” ซึ่งมีความสำคัญอยู่ติดกับ “ แม่น้ำกก ” ซึ่งเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างเมืองเชียงรายกับเมืองเชียงแสน “ พญามังราย ” เป็นปฐมกษัตริย์องค์ของ “ อาณาจักรล้านนา ” และเป็นต้นตระกูลของ “ ราชวงศ์มังราย ” เมื่ออาณาจักรล้านนาถูกผนวกเข้ากับสยามอำนาจของเจ้านายในอาณาจักรล้านนาก็ลดน้อยลงไปจนในที่สุดก็ไม่มีอำนาจในอาณาจักร “ พระยารัตนาณาเขตร์ ” หรือ “ น้อยเมืองไชย ” เป็นเจ้าเมืองเชียงรายคนสุดท้าย   “ พระยารัตนาณาเขตร์ ” ( น้อยเมืองไชย) (ในสัญญาบัตรแต่งตั้งว่า พระยารัตนาณาเฃตร) หรือ “ เจ้า หลวงเมืองไชย ” เป็นบุตรของ “ พระยาราชเดชดำรง ” ( อินต๊ะ) เจ้าเมืองเชียงแสน ถูกตั้งเป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงรายแทนสายเมืองเชียงใหม่ ด้วยสาเหตุที่เจ้าอุปราชคำตุ้ยกระทำกริยาไม่เหมาะสมกับข้าหลวงรัฐบาลสยาม จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง เจ้าหลวงเมืองไชยได้สมรสกับ “ เจ้าหญิงน้อยชมพู ” เหลนของพระยารัตนาณาเขตร์ (ธัมมลังกา) เจ้าเมืองเชียงรายคนแรกก่อนที่จะพิ...