เทพสิงห์ วีรบุรุษผู้ถูกลืมแห่งล้านนา


 เทพสิงห์ (วีรบุรุษผู้ถูกลืมแห่งล้านนา)


วีรบุรุษ ผู้กู้เมืองเชียงใหม่จากพม่า แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ เพราะถูกหักหลัง แต่ชื่อนี้ก็หายสาปสูญไปจากประวัติศาสตร์ของล้านนา แปลก ในช่วงสิ้นสุดราชวงศ์มังราย ล้านนา ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า(พ.ศ. 2121 - พ.ศ. 2317) เกือบ200ปี ตลอดระยะเวลาที่พม่าปกครอง ได้ส่งกษัตริย์มาครองถึง 12 พระองค์ ชาวล้านนาได้ถูกพม่า เก็บเกี่ยวผลประโยชน์มาตลอด หัวเมืองเล็กเมืองน้อย ก็ต้องพลอยเดือดร้อนกันทั่วแผ่นดินล้านนา อันที่จริง ก็เป็นเรื่องปกติของการเมืองการสงครามในสมัยนั้น ประเทศที่มีผู้นำเข้มแข็ง ย่อมยึดอำนาจจากประเทศที่ผู้นำอ่อนแอ แล้วกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สินกอบโกยเอาไป  อันนี้เป็นเรื่องปรกติ ของการสงครามโบราณ มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเต่ามหาราชแล้ว

แต่ทว่า ในช่วงเวลาที่พม่าเข้ามาปกครองล้านนานี้เอง ในช่วงเวลาหนึ่ง ได้มีนักรบหนุ่มแห่งเมืองยวมใต้(อ.แม่สะเรียงในปัจจุบัน) ได้กอบกู้อิสระภาพให้แก่ชาวล้านนา แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ท่านผู้นั้นคือ "เทพสิงห์" นักรบผู้ไร้วงศ์สกุล แต่นับได้ว่า เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 27 แห่งเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2270 แม้จะแค่ 1เดือนก็ตาม

"เทพสิงห์" เป็นชื่อของนักรบชาวเมืองยวมใต้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าคนผู้นี้เกิดเมื่อใด จนย่างเข้าสู่ วัยหนุ่ม เป็นคนรูปหล่อล่ำสัน บึกบึน

เมื่อครั้งที่เชียงใหม่ ได้ถูกกองทัพพม่า โดยการนำของมหาอำนาจแห่งอังวะ ยกทัพเข้ามาตีเอาเมือง เชียงใหม่ไว้ได้ ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง เดือดร้อนกันทั่วไป โรคภัยไข้เจ็บคุกคาม และที่สำคัญพ ม่าได้นำศิลปวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ในเมืองเชียงใหม่ และเมืองใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็น เมืองเชียงแสน เชียงราย ลำปาง ลำพูน มีแต่เสาหงส์และรูปสิงห์เต็มไปหมด บังคับให้สักขาดำ ผู้หญิงเจาะขวากหู ไม่เหลือเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนาไว้เลย 

ทำให้คนหนุ่มรุ่นใหม่สมัยนั้น สมคบคิดกัน ที่จะแย่งชิงเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า จนปี พ.ศ. 2270" เทพสิงห์" นักรบหนุ่มจากเมืองยวมใต้ ได้รวบรวมผู้คนไม่กี่ร้อยคน ตีเอาเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า ได้ฆ่าล้างผลาญพม่าจนไม่เหลือ ที่เหลืออยู่บ้าง ก็หนีไปอยู่ที่เชียงแสน " เทพสิงห์"เข้ารักษาการเจ้าเมืองเชียงใหม่โดยมีขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นคนไทยให้การยอมรับ ปกครองดูเมืองเชียงใหม่

ต่อมา "พญาวังหางตื๋น"ชาวเมืองเชียงใหม่ผู้ทรยศ ได้วางแผนกับพวกพม่าและหัวเมืองอื่นๆ รวบ รวมพลได้ 400 คน เข้าตีเอาเมืองเชียงใหม่ใน ตอนกลางคืนจาก "เทพสิงห์"ได้ แล้วเดินทางไปรายงาน และยกเมืองคืนให้กับ " พระเจ้าอังวะ" เจ้าเมืองพม่า

ฝ่าย "เทพสิงห์"ยังไม่ละความพยายาม ได้เข้าแย่งชิงรบพุ่งเป็นประจำ จนทางพม่าต้องยกทัพใหญ่เข้ามาปราบปราม "เทพสิงห์" เห็นว่าเหลือกำลัง ที่จะชิงเมืองกลับคืน จึงได้ไปหารือกับเจ้านครน่าน "เจ้าธรรมปัญโญ" เห็นเป็นคนไทยด้วยกัน และเห็นความตั้งใจมุ่งมั่นแรงกล้า จึงยกกำลังร่วมสมทบมาตีเชียงใหม่ แต่ความลับรั่วถึงหู "เจ้าองค์ดำ" คนชาติลาว ที่ครองเมืองเชียงใหม่ จึงยกทัพออกไปดักซุ่มตีที่เวียงป่าซางนครลำพูน ทั้ง "เทพสิงห์" และกำลังของนครน่าน ต่างพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ เนื่องจากมีกำลังน้อยกว่า ในจารึก เจ้านครน่าน ได้สิ้นพระชนในสงครามครั้งนี้ด้วย และตั้งแต่นั้นมา นาม "เทพ สิงห์" นักรบหนุ่มจากเมืองยวมใต้ก็หายสาบสูญไปเลย ไม่มีการกล่าวถึงวีรบุรุษ เจ้าเมือง 1 เดือนอีกเลย

การครองราชของเทพสิงห์ ได้ครองราชเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น เนื่องจากการทรยศของ"พญาวังหางตื๋น" ที่มีใจแปรไป ฝักใฝ่ฝั่งพม่า เทพสิงห์ทรงเป็นนักรบที่มีความสามารถ แต่ไม่มีความสามารถในด้านการเมืองการปกครอง การกู้ชาติจึงเป็นความสำเร็จในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ถือว่า วีรกรรมความกล้าหาญของท่าน ก็ควรแก่การยกย่อง และฝากชื่อไว้ในแผ่นดินสืบลูกสืบหลาน

จากวีรกรรมของเทพสิงห์ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานนามเทพสิงห์ ให้เป็นชื่อค่ายทหารว่า "ค่ายเทพสิงห์" ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของหน่วยกองพันทหารราบที่ 4 ในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

[คติธรรม] คมธรรมของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ