บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

รูปภาพ
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญในแง่ของแหล่งโบราณคดีแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก – ลพบุรี ตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 130 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,889 ไร่ เดิมมีชื่อเรียกว่า  “ เมืองอภัยสาลี ”  โบราณสถานแห่งนี้เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เนื่องจากลักษณะเป็นเมืองขนาดใหญ่ ประกอบกับทำเลที่ตั้ง ทำให้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเมืองแห่งนี้น่าจะเป็นชุมทางที่ติดต่อกับอาณาจักรอื่น ๆ ได้สะดวก ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรม และรูปแบบสถาปัตยกรรมจากอาณาจักรใกล้เคียงมาผสมผสาน อาทิ ศิลปะขอม และศิลปะแบบทวารวดี เป็นต้น โดยคาดว่าเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 16 จากนั้นถูกทิ้งร้างในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากปัญหาภัยแร้ง หรือโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งยังคงปริศนาอยู่ในปัจจุบัน อาณาจักรศรีเทพมีลักษณะเป็นคูน้ำและคันดินล้อมรอบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย  “ เมืองส่วนใน ”  มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างขึ้นก่อน มีลักษ...

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

รูปภาพ
 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสวยราชสมบัติที่กรุงยโศธรปุระ (นครธม ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้กล้าหาญ เก่งกล้า เป็นนักก่อสร้างปราสาทที่ยอดเยี่ยม มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ผู้ครองอาณาจักรเมืองพระนคร พระองค์เป็นผู้สร้างปราสาทเป็นจำนวนมากในนครธมปัจจุบัน เช่น ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม ปราสาทนาคพัน ปราสาทสระสรง ปราสาทบันทายกะเด็ย เเละทรงสร้างปราสาทอื่นๆทั่วราชอาณาจักรของพระองค์อีกมากมาย จนมีผู้กล่าวว่า หากเอาหินที่สร้างปราสาทของกษัตริย์ทุกพระองค์ในยุคเจมรโบราณมากองรวมกัน ก็ไม่เท่ากับของพระองค์เพียงผู้เดียว เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ คือการเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ดังข้อความจารึกที่อโรคยศาลของพระองค์ทุกหลักว่า “ โรคทางกายของประชาชนนี้ เป็นโรคทางจิตที่เจ็บปวดยิ่ง (ของพระองค์) เพราะความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง” เมื่อพระองค์เป็นเจ้าเมืองจึงไม่อาจทนเห็นความทุกข์ร้อนของประชนได้ พระองค์จึงสร้างอโรคยศาลขึ้นทั่วประเทศเพื่...

อาณาจักรฟูนัน

รูปภาพ
  อาณาจักรฟูนัน เป็น อาณาจักรเก่าแก่ของขอมโบราณที่สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๖ คำว่า "ฟูนัน" เพี้ยนมาจากคำว่า พนม หมายถึงภูเขา เนื่องจากอาณาจักรขอมที่สร้างขึ้นทางตอนใต้ของแหลมอินโดจีนมักตั้งอยู่บน ภูเขา เป็นการสร้างเมืองขึ้นตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูลัทธิไศวะนิกาย และไวณพนิกายที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จึงสร้างเมืองบนไว้ภูเขาวิหารจำลอง (กษัตริย์ขอมเรียกพระองค์เองว่ากูรุงพนม ซึ่งมีความหมายว่า ราชาแห่งขุนเขา) ใน พุทธศตวรรษที่ ๑๐ นั้น พราหมณ์โกญธัญญะจากอินเดียได้เดินทางมาครองอาณาจักรขอมแห่งนี้ ได้สร้างแบบแผนของราชสำนักตามอย่างอินเดีย ซึ่งมีตำนานเล่าถึงราชวงศ์ขอมไว้ว่า ราชวงศ์ขอมนั้นเกิดจากพราหมณ์คนหนึ่งสมสู่กับนางนาค ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาค ที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติขอม ราชวงศ์นี้ได้มีกษัตริย์ครองอาณาจักรฟูนันต่อมาจนถึงพ.ศ.๑๑๐๐ มีพระนามกษัตริย์ที่ปรากฏชื่อคือพระเจ้าโกณฑิณยะชัยวรมัน และพระเจ้ารุทรวรมัน ศิลปขอมที่เกิดขึ้นในยุคนี้เรียก ศิลปขอมแบบพนมดา สร้างระหว่าง พ.ศ.๑๑๐๐-๑๑๕๐ เมือง หลวงของอาณาจักรฟูนันนั้น เรียก นอ-กอร กก-ทะโหลก ซึ่งหมายถึง เมืองพระนครที่ตั้...

เอาคำว่าเราไปใช้กับเขาสา - ทิน ภูธร

รูปภาพ
เพลง เอาคำว่าเราไปใช้กับเขาสา ศิลปิน ทิน ภูธร คำร้อง/ทำนอง ประเสริฐ ยอดสง่า ดนตรี ตูนน้อย สว่างอุบล

ถ้ำอชันตา ศาสนสถาน มรดกโลก

รูปภาพ
ถ้ำอชันตา ศาสนสถาน มรดกโลก ถ้ำอชันตา ได้ชื่อว่าเป็นวัดถ้ำในพุทธศาสนาที่งดงามและเก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขาสลับซับซ้อน ในบริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบสูงเดกกัน โดยวิธีการสร้างนั้นเป็นขุดเจาะเข้าไปในหินบาซอลต์ (แกรนิตแข็ง) โดยขุดจากหินก้อนเดียวจนเป็นวิหารขนาดใหญ่โดยใช้สิวและค้อนเท่านั้น ระยะเวลาการเจาะทั้งหมด 800 ปี เริ่มเจาะตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 3 จนกลายเป็นถ้ำมากกว่า 30 ถ้ำ เรียงตัวต่อเนื่องกันยาวหลายร้อยเมตรบนเชิงเขาสูงวงโค้งรูปพระจันทร์เสี้ยว ภายในมีวิหารขนาดใหญ่ภายในเต็มไปด้วยงานแกะสลักหิน เป็นเจดีย์ เป็นพระพุทธรูป เป็นเรื่องราวต่างๆ ในพุทธประวัติและชาดกเต็มไปหมด โดยไม่ผุพังตามกาลเวลาแม้แต่น้อย โดยสถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่ของสงฆ์เพื่ออยู่อย่างสันโดษ แต่แล้วสถานที่แห่งหนึ่งก็เริ่มหมดความสำคัญลง เมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อม ขาดการดูแล และถูกทิ้งร้างไปในที่สุด และได้เลือนหายไปจากความทรงจำของชาวอินเดีย จนมาถูกค้นพบโดยกองทหารอังกฤษ นำโดยร้อยเอกจอห์น สมิธ เมื่อ 1819

วิหารพระพุทธไสยาสน์

รูปภาพ
วัดใหญ่ชัยมงคล​ จ.พระนคร​ศรี​อยุธยา​ .. ซึ่งภายในประดิษฐาน “พระพุทธไสยาสน์” สร้างในแผ่นดิน”สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เพื่อใช้เป็นที่สักการะบูชา และปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบัน วิหารแห่งนี้หลงเหลือเพียงเสาสองต้นและกำแพงบางส่วนหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 .. วิหารจะผุพังไปตามกาลเวลาเหลือเพียงผนังและเสาบัวกลุ่ม แต่องค์พระได้รับการบูรณะเป็นอย่างดี พระนอนองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ เพราะทรงลืมพระเนตร พระเศียรหนุนหมอน และไม่มีหมอนรองใต้พระกัจฉะ (รักแร้) นับเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในวัดใหญ่ชัยมงคลที่สื่อถึงการพักผ่อน เพราะองค์อื่นๆ อยู่ในปางมารวิชัยซึ่งแสดงพุทธประวัติช่วงที่พระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือมาร แหล่งที่มา ; https://www.facebook.com/Noppadol.64

วัดชเวนันดอร์

รูปภาพ
วัดแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้ามินดง กษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา แน่นอนว่าอาคารแห่งนี้ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน เพราะเป็นอาคารไม้สักทองที่มีการสลักเสลาลวดลายด้วยความวิจิตรบรรจงที่มีความสมบูรณ์และมีความอ่อนช้อยงดงามเป็นที่สุด ซึ่งหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ อาคารแห่งนี้จึงได้ถูกรื้อจากเขตพระราชวังแล้วนำมาถวายวัด

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศน์ในวันวิสาขบูชา

รูปภาพ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เทศน์ในวันวิสาขบูชา

ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อำเภอเสาไห้

รูปภาพ
 ศาลาการเปรียญไม้ทรงโบราณ ที่อวดโครงสร้างไว้อย่างอลังการงานช่างโบราณ ที่วัดเล็กๆ ใน อ.เสาไห้ ที่รูปแบบอยู่ในช่วง รัชกาลที่ ๓ ตามประวัติของสร้างวัดนี้มีมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๒๑๒ ช่วงอยุธยาปลายๆ ที่ยังพอมีร่องรอยโบราณวัตถุในวัดที่พอให้สืบค้นต่อไปได้ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ไม้สัก ที่อวดโครงสร้างไว้อย่างอลังการงานช่างโบราณเมืองเสาไห้ วิหารหลังเก่า พระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ของวัด ที่เก็บรวบรวมตู้พระธรรม ที่ยังคงอวดกระบวนลายรดน้ำชัดเจน ..... วัดไผ่ล้อม เสาไห้ สระบุรี สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๒๑๒ สมัยอยุธยาตอนปลายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้กรมหมื่นเทพทรรักษ์และพระปราบ นำทัพไปขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงแสน พ.ศ. ๒๓๔๗ พม่าพ่ายแพ้ถอยร่นกลับไป ก็ให้เผาเมืองเชียงแสน แล้วรวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนได้จำนวนหนึ่งอพยพลงมาแต่ในระหว่างบางส่วนต่างก็กระจัดกระจายกันปักหลักอยู่ตามระยะทางที่ผ่านมาคือ เวียงจันทร์ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน ส่วนพวกที่มาถึง ได้โปรดให้ตั้งบ้านเรือนที่เมืองสระบุรี เมืองเสาไห้ (ในสมัยนั้นเมืองสระบุรีเป็นพ...

หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม อริยสงฆ์สมถะ ศิษย์หลวงปู่ฝั้น ผู้ไม่เคยถือสมณศักดิ์

รูปภาพ
พระผู้สมถะเรียบง่าย รักสันโดษ ไม่หลงในลาภยศ หลวงปู่เหลือง ฉันทาคโม (พระราชปัญญาวิสารัท) วัดกระดึงทอง เถราจารย์ศิษย์หลวงปู่ฝั้น พระป่า กรรมฐาน ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คมธรรม คำเช้า

รูปภาพ
  โลกเป็นของคู่  เมื่อมีคนชอบย่อมมีคนชัง เมื่อมีคนชมย่อมมีคนแช่ง เมื่อมีคนรักย่อมมีคนเกลียด ยิ่งมีคนสรรเสริญคุณมากเท่าไหร่  ก็มีคนโจมตีคุณมากเท่านั้น ขอบคุณคนที่ชื่นชอบคุณ  ยิ่งต้องขอบคุณคนที่ชิงชังคุณ  แต่จงมีชีวิตอยู่ในโลกของคุณเอง หากหนึ่งในสิบมีความคิดเห็น ไม่ตรงกับคุณ  นั่นอาจเป็นปัญหาของเขา แต่หากเมื่อใดที่คนจำนวนมากกว่าครึ่งรู้สึกว่าคุณคือปัญหา  คุณต้องสำรวจตัวเอง อย่างไม่เข้าข้างตัวเอง  โลกนี้ ไม่มีความรักใด ที่ได้มาด้วยเหตุบังเอิญ  ความเกลียดแค้นชิงชังก็เช่นกัน เครดิต ; เจี๊ยบ กิติศักดิ์

โลกนิยามความเศร้าไม่เท่ากัน

รูปภาพ
'ฟังเพลงรักจากชายป่าอารยธรรม ท่วงทำนองร้องลำนำสมัย ขับเชียงขวางเต้ยสั่งลามหาไชย วาสภูไทได้ซึมซับขับทุ้มลาว "โอ้เด...ผู้สาวเอย คำเอื้อนเอ่ยเฉลยกลอนออดอ้อนสาว ผูกฮักมั่นสายสัมพันธ์ให้ยืนยาว แคนจ้วดจ้าวหย่าวลำเดินเอิ้นสั่งนาง แต้มรอยยิ้มพริ้มพรายบนใบหน้า ตาสบตาภาษาใจไม่เว้นว่าง แล้วสดับขับทุ้มลำหลวงพระบาง บั๊ดสะหลบอย่าหลบทางของหางตา ว่าโอ้ละหนอคนฮัก เจ้าอย่ากักฮักไว้ให้โหยหา สีพันดอนคอนพะเพ็งอย่าเร่งลา แม่นางฟ้าผู้น่ารักสักนิรันดร์" จบเพลงรักจากชายป่าอารยธรรม ท่วงทำนองของหมอลำยังจำมั่น ภาพรอยยิ้มยังถักทอวันต่อวัน แผ่วเพลงฝันวันจากมา...ว่าโอ้ละหนอ'

อัศจรรย์ คืนบรรลุอรหันต์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

รูปภาพ
หลวงปู่ชอบ(ฐานสโม) ท่านพักภาวนาอยู่กับองค์ท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ ถ้ำดอกคำ บ้านสหกรณ์ ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่.. คืนนั้นเวลาประมาณตีสามกว่า หลวงปู่ชอบท่านนั่งภาวนาอยู่ที่พักของท่าน จิตท่านในเวลานั้นสว่างไสวใสงามมาก แต่แล้วจู่ๆความสว่างไสวของจิตเกิดดับวูบลงไปอย่างกะทันหัน พร้อมกับมีเสียงกึกก้องกัมปนาทสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่วขุนเขา.. ท่านเปรียบเทียบว่าเสียงนี้ไม่ต่างอะไรกับระเบิดปรมาณูมาระเบิดอยู่ข้างๆตัวเรา จนท่านเกิดอาการสั่นไหวในจิตคล้ายกับผืนแผ่นพสุธาจะแตกสลายกลายเป็นจุลอาการเหล่านี้เกิดขึ้นภายในจิตของท่านเท่านั้น แต่สิ่งต่างๆที่อยู่ภายนอกก็เป็นปรกติทุกอย่าง ตั้งแต่ท่านภาวนามาก็ไม่เคยประสบพบเจอกับอาการแบบนี้ของจิต ท่านจึงพิจารณาดูภายในว่าเกิดอะไรขึ้นกับจิตของตน พิจารณาดูจิตก็ไม่เห็นผิดปรกติตรงไหน.. ท่านจึงพิจารณาดูภายนอกว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น พอดึงจิตออกมาดูข้างนอก จิตท่านก็พุ่งตรงไปที่องค์ท่านหลวงปู่มั่นทันที ท่านเห็นเทวดาพากันมาห้อมล้อมองค์ท่านหลวงปู่มั่นจำนวนมากเทวดาพากันมาจากทุกสวรรค์ชั้นภูมิ จนเต็มพื้นดินแผ่นฟ้านภากาศ ครั้งนั้นท่านว่าเทวดามา...

วัดกุฎีทอง พระนครศรีอยุธยา

รูปภาพ
วัดกุฎีทอง        วัดกุฎีทอง   ตั้งอยู่เลขที่ ธ.๑๑   บ้านกุฎีทอง   ตำบลท่าวาสุกรี   อำเภอพระนครศรีอยุธยา   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดธรรมิกราชด้านหน้าวัดหันสู่คูคลองเมือง     สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา   เพราะปรากฏนามในพงศาวดารเหนือว่า   พระเจ้าจันทโชติทรงสร้างวัดกุฎีทอง   เมื่อ พ.ศ.๑๔๐๑    และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๙๐ ปัจจุบันเป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย   มีเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๖๐ ตารางเมตร   พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม   ประกอบด้วยอาคารเสนาสนะสำคัญๆ ได้แก่   อุโบสถก่ออิฐถือปูน   ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร   ศาลาการเปรียญสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก   ขนาดกว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๕ เมตร   กุฏิสงฆ์สร้างด้วยไม้จำนวน ๕ หลัง   และหอระฆัง   มีถนนราดยาวซึ่งตัดผ่านกลางวัดเป็นเส้นแบ่งแยกเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส            นามวัดกุฎีทอง   ปรากฏอีกครั้งในพระราชพงศา...